วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน

1._____tsunamiก.ความไม่อย่างต่อเนื่องของความเร็วคลื่นไหวสะเทือน
2._____epicenterข.80% ของแผ่นดินไหวทั่วโลก
3._____Mohorovicicค.การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป 2 แผ่น
4._____Richterง.เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้ำ
5._____mid-oceanic ridgeจ.เดินทางช้ากว่าคลื่นปฐมภูมิ
6._____Wadati-Benioff Zoneฉ.ความเร็วที่แตกต่างกันของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิ
7._____liquefactionช.เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก
8._____Ring of Fireซ.แอมพลิจูดคลื่นแสดงระดับพลังงานแผ่นดินไหว
9._____Himalayasฌ.เกิดแผ่นดินไหวลึก < 20 กิโลเมตร
10._____shear waveญ.การสูญเสียสเถียรภาพของพื้นดินจากแผ่นดินไหว

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด

1._____การวิเคราะห์จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ต้องมีสถานีตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนได้อย่างน้อย 4 สถานี
2._____การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
3._____แผ่นดินไหวโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามขอบแผ่นเปลือกโลก
4._____สึนามิเกิดจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวซึ่งทำให้น้ำกระเพื่อม
5._____แผ่นดินไหวขนาดใหญ่สามารถตรวจวัดได้โดยเครื่องบันทึกแผ่นดินไหวทั้งหมดทั่วโลก
6._____แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
7._____คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave) คือคลื่นที่เดินทางภายในเนื้อโลก
8._____มนุษย์สามารถเหนี่ยวนำห้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (> 7.0) ได้
9._____การกระจายตัวของแผ่นดินไหวมีประโยชน์ในการแบ่งขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก
10._____แผ่นดินไหวขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน
11._____คลื่นปฐมภูมิ (primary wave) เดินทางผ่านแกนโลกชั้นนอกได้เร็วกว่าแกนโลกชั้นใน
12._____บริเวณแนวสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่เป็นภัยพิบัติได้สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
13._____คลื่นเฉือน (shear wave) เดินทางผ่านแกนโลกชั้นนอกได้เร็วกว่าแผ่นเปลือกโลก
14._____สึนามิสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรได้
15._____Wadati-Benioff Zone สังเกตได้จากการกระจายตัวของแผ่นดินไหวในแนวภาพตัดขวาง ซึ่งมีการเอียงเทลึกลงไปภายใต้แผ่นเปลือกโลก
16._____ แผ่นดินไหวขนาดใหญ่จะมีความแตกต่างของเวลามาถึงสถานีตรวจวัดของคลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิที่แตกต่างกันมาก
17._____แผ่นดินไหวเกิดจากการปลดปล่อยแรงเค้นที่สะสมอยู่ในหินที่มีการเปลี่ยนรูปแบบพลาสติก (plastic deformation)
18._____จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือ จุดที่รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวและทำให้เกิดแผ่นดินไหว
19._____เมื่อเกิดแผ่นดินไหว คลื่นไหวสะเทือนชนิดแรกที่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวตรวจวัดได้คือ คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
20._____แผ่นดินไหวสามารถทำนาย (predict) ได้ แต่พยากรณ์ (forecast) ไม่ได้

3) แบบฝึกหัดปรนัย

คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้

1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ มาตราริกเตอร์ (Richter scale)

 ก.ค่าสูงที่สุด คือ 9.9ข.เริ่มต้นที่ 0 แต่ไม่มีค่าสูงที่สุด
 ค.ไม่มีค่าสูงที่สุดหรือต่ำที่สุดง.มีได้หลายค่าใน 1 เหตุการณ์

2. ข้อใดคือ กราฟคลื่นไหวสะเทือน

 ก.seismometerข.seismogram
 ค.seismic detectorง.seismograph

3. ข้อใดคือ เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว

 ก.seismometerข.seismogram
 ค.seismic detectorง.seismograph

4. ความแตกต่างของความเร็วในการเดินทางผ่านตัวกลางของคลื่นไหวสะเทือน (คลื่น P และคลื่น S) สามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้านใดของแผ่นดินไหว

 ก. ตำแหน่งแผ่นดินไหวข. ขนาดแผ่นดินไหว
 ค. ความรุนแรงแผ่นดินไหวง.ถูกทุกข้อ

5. เหตุใดจึง ไม่มี การรายงานแผ่นดินไหวขนาด > 10.0

 ก.เป็นไปไม่ได้ในเชิงคณิตศาสตร์ข.เวลาการตรวจวัดสั้นเกินไป
 ค. มาตราริกเตอร์กำหนดขนาดแผ่นดินไหวสูงที่สุด = 9.9ง. แผ่นเปลือกโลกสะสมพลังงานไม่เพียงพอ

6. คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ชนิดใดเดินทางได้เร็วที่สุด

 ก.คลื่นเลิฟ (Love wave)ข.คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
 ค.คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave)ง.คลื่นปฐมภูมิ (P wave)

7. ข้อใดคือคลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ซึ่งเกิดจากแรงอัด-ขยายของตัวกลางขนานไปกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น

 ก.คลื่นเลิฟ (Love wave)ข.คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
 ค.คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave)ง.คลื่นปฐมภูมิ (P wave)

8. พื้นที่ใดมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุด

 ก.เทือกเขาหิมาลัยข.ภายในแผ่นเปลือกโลก
 ค.รอบมหาสมุทรแปซิฟิกง.ตามแนวการแยกตัวทั่วโลก

9. ข้อใดคือผลกระทบเนื่องจากแผ่นดินไหว

 ก.ทรายพุข.สึนามิ
 ค.ดินถล่มง.ถูกทุกข้อ

10. ข้อใดคือสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตเนื่องจากแผ่นดินไหว

 ก.ดินถล่มข.รอยเลื่อน
 ค.มาตรฐานสิ่งปลูกสร้างง.ขนาดแผ่นดินไหว

11. โดยส่วนใหญ่แผ่นดินไหวที่เกิดในโซนการเคลื่อนที่ออกจากกัน (divergent zone) มีคุณสมบัติอย่างไร

 ก.แผ่นดินไหวระดับลึกข.แผ่นดินไหวระดับปานกลาง
 ค.แผ่นดินไหวระดับตื้นง.ถูกทุกข้อ

12. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวแปรในการวิเคราะห์จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)

 ก.คลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิข.ชนิดของรอยเลื่อน
 ค. เวลาการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือนง. ต้องมีสถานีตรวจวัดอย่างน้อย 3 สถานี

13. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ สึนามิ (tsunami)

 ก.เร็ว > 900 กิโลเมตร/ชั่วโมงข.สาเหตุจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล
 ค.เรือเล็กอยู่กลางทะเลอันตรายง.สร้างคลื่นสูง > 30 เมตร

14. มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ใช้สำหรับกำหนดตัวแปรอะไรของแผ่นดินไหว

 ก.ระดับความเสียหายข.ขนาดแผ่นดินไหว
 ค.ชนิดของคลื่นไหวสะเทือนง.ความรุนแรงแผ่นดินไหว

15. ข้อใดคือจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

 ก.originข.epicenter
 ค.hypocenterง.ถูกทุกข้อ

16. ปัจจุบันมีการรายงานแผ่นดินไหวขนาด > 9.0 เนื่องจากสาเหตุใด

ก.แผ่นเปลือกโลกปลดปล่อยพลังงานสูงขึ้นข. มาตราขนาดแผ่นดินไหวทันสมัยมากขึ้น
 ค.ระบบการตรวจวัดดีขึ้นง.ถูกทุกข้อ

17. จากสถิติพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเล็กน้อยที่ระดับความลึก > 720 กิโลเมตร เนื่องจากสาเหตุใด

ก.ความดันช่วยป้องกันการเลื่อนตัวของหินข.ความร้อนทำให้หินคล้ายกับพลาสติก
 ค.ลึกเกินกว่าที่จะตรวจวัดได้จากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหววง.ถูกทุกข้อ

18. แผ่นดินไหวโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกเท่าใด

 ก.20-40 กิโลเมตรข.60-80 กิโลเมตร
 ค.40-60 กิโลเมตรง.80-100 กิโลเมตร

19. แผ่นดินไหวสามารถเกิดลึกที่สุดประมาณกี่กิโลเมตร

 ก.10 กิโลเมตรข.300 กิโลเมตร
 ค.100 กิโลเมตรง.700 กิโลเมตร

20. คลื่นไหวสะเทือนชนิดใดเคลื่อนที่เร็วที่สุด

 ก.คลื่นปฐมภูมิ (P wave)ข.คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
 ค.คลื่นพื้นผิว (surface wave)ง.สึนามิ (tsunami)

21. ข้อใด หมายถึง body wave

 ก.คลื่นปฐมภูมิ (P wave)ข.คลื่นซึ่งเดินทางภายในโลก
 ค.คลื่นทุติยภูมิ (S wave)ง.ถูกทุกข้อ

22. ในโซนการเคลื่อนที่ออกจากกัน ความลึกของแผ่นดินไหวเป็นอย่างไร

 ก.แผ่นดินไหวระดับลึกข.แผ่นดินไหวระดับปานกลาง
 ค.แผ่นดินไหวระดับตื้นง.ถูกทุกข้อ

23. ในเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) ความลึกแผ่นดินไหวโดยส่วนใหญ่เป็นอย่างไร

 ก.แผ่นดินไหวระดับลึกข.แผ่นดินไหวระดับปานกลาง
 ค.แผ่นดินไหวระดับตื้นง.ถูกทุกข้อ

24. ข้อใดเรียงลำดับการมาถึงสถานีของคลื่นไหวสะเทือนชนิดต่างๆ จากก่อนไปหลังได้ถูกต้อง

 ก.คลื่น P คลื่น S และคลื่นพื้นผิวข.คลื่น S คลื่น P และคลื่นพื้นผิว
 ค.คลื่นพื้นผิว คลื่น S และคลื่น Pง.คลื่น S คลื่นพื้นผิวและคลื่น P

25. strike-slip fault คืออะไร

 ก.รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำข.รอยเลื่อนตามแนวระนาบ
 ค.เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกง.รอยเลื่อนที่ยังไม่มีการเคลื่อนที่

26. เมื่อเกิดแผ่นดินไหว สิ่งปลูกสร้างแบบใดมีโอกาสเสียหายน้อยที่สุด

 ก.อิฐข.คอนกรีต
 ค.ไม้ง.เหล็ก

27. ช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) คืออะไร

 ก.พื้นที่ภายในแผ่นเปลือกโลกซึ่งไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหวข.แนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวซึ่งไม่ค่อยเกิดแผ่นดินไหว
 ค.ช่วงระยะเวลาการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ง.ร่องลึกขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว

28. ระยะทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวถึงสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวประเมินได้โดยข้อมูลใด

ก.ความแตกต่างเวลาการมาถึงสถานีตรวจวัดของคลื่นพื้นผิวข. ความแตกต่างเวลามาถึงสถานีตรวจวัดของคลื่น P และ S
 ค.ความเร็วของคลื่นพื้นผิวง.ไม่มีข้อใดถูก

29. ข้อใดคือผลกระทบซึ่งเกิดเฉพาะเนื่องจากแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)

 ก.ทรายพุข.หลุมยุบ
 ค.ดินถล่มง.น้ำท่วม

30. คลื่นแรกที่ตรวจวัดได้จากสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวคือคลื่นชนิดใด

 ก.คลื่นที่เดินทางตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ข.คลื่นที่เดินทางขนานกับทิศการเคลื่อนที่
 ค.ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนง.คลื่นที่มีแอมพลิจูดสูงที่สุด

31. ในขณะที่นั่งอยู่ในเรือกลางทะเล เราสามารถรู้สึกถึงการเกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่ และคลื่นใดที่ได้รับ

 ก.ได้ คือ คลื่นปฐมภูมิ (P wave)ข.ได้ คือ สึนามิ
 ค.ได้ คือ คลื่นทุติยภูมิ (S wave)ง.ไม่ได้

32. ใครที่มีโอกาสรู้สึกถึงแผ่นดินไหวมากที่สุด

 ก.ก รถติดอยู่บนถนนสีลมข.ข กินข้าวบนตึกใบหยก
 ค.ค เดินบนสะพานพระราม 8ง.ง นั่งอ่านหนังสือใต้ต้นไม้

33. เหตุใดยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในประเทศที่กำลังพัฒนาจึงมีสูง

 ก.การปลูกสร้างไม่ได้มาตรฐานข.โรงพยาบาลไม่ได้มาตรฐาน
 ค.โดยส่วนใหญ่เกิดสึนามิตามมาง.แผ่นดินไหวใหญ่กว่าพื้นที่อื่น

34. พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวขนาด 5.0 มีขนาดเป็นกี่เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 4.0

 ก.2.5 เท่าข.32 เท่า
 ค.1,000 เท่าง.27,000 เท่า

35. ทรายพุ (liquefaction) เกิดจากคลื่นไหวสะเทือนเดินทางผ่านวัสดุชนิดใด

 ก.ชั้นหินที่มีการวางตัวสูงชันข.ทรายชุ่มน้ำ
 ค.ดินผุง.ชั้นดินอ่อน

36. พื้นที่ใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุด

 ก.ตอนใต้ประเทศออสเตรเลียข.ตอนเหนือประเทศบราซิล
 ค.ประเทศแคนาดาง.ตอนใต้รัฐแคลิฟอร์เนีย

37. ข้อใดคือสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตเนื่องจากแผ่นดินไหว

 ก.ดินถล่มข.รอยเลื่อน
 ค.มาตรฐานสิ่งปลูกสร้างง.ขนาดแผ่นดินไหว

38. รอยเลื่อนชนิดใดสามารถเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด

 ก.รอยเลื่อนซ้ายเข้า (right-lateral fault)ข.รอยเลื่อนขวาเข้า (right-lateral fault)
 ค.รอยเลื่อนปกติ (normal fault)ง.รอยเลื่อนย้อน (reverse fault)

39. การวิเคราะห์จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวควรมีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวอย่างน้อยกี่สถานี

 ก.2 สถานีข.3 สถานี
 ค.4 สถานีง.5 สถานี

40. พื้นที่ใดเกิดสึนามิบ่อยที่สุด

 ก.มหาสมุทรแปซิฟิกข.มหาสมุทรอินเดีย
 ค.ทะเลอันดามันง.หมู่เกาะฮาวาย

41. ข้อใดคือมาตราตรวจวัด ความรุนแรงแผ่นดินไหว (earthquake intensity)

 ก.เมอร์คัลลี่ (Mercalli)ข.โมส์ (Mohs)
 ค.ริกเตอร์ (Richter)ง.เว็นเวิร์ท (Wentworth)

42. seismic sea wave คืออะไร

 ก.น้ำขึ้น-น้ำลงข.คลื่นโดยทั่วไปในทะเล
 ค.สึนามิง.ไม่มีข้อใดถูก

43. พื้นที่ใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุด

 ก.เทือกเขาหิมาลัยข.ภายในของแผ่นเปลือกโลก
 ค.รอบมหาสมุทรแปซิฟิกง.ตามแนวการแยกตัวทั่วโลก

44. เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวใช้หลักการใดในการตรวจวัด

 ก.เลนส์ข.คานดีดคานงัด
 ค.เฟืองง.สปริงและลูกตุ้ม

45. สึนามิ (tsunami) คืออะไร

 ก.ส่วนที่มีการล๊อคของรอยเลื่อนข.สัญญาณบอกเหตุแผ่นดินไหว
 ค.คลื่นไหวสะเทือนใต้ทะเลง.ถูกทุกข้อ

46. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะเฉพาะของสึนามิ

 ก.แอมพลิจูดต่ำมากกลางมหาสมุทรข.ความยาวคลื่นยาวมากกลางมหาสมุทร
 ค.เคลื่อนที่รวดเร็วกลางมหาสมุทรง.ระดับน้ำลดลงเมื่อคลื่นใกล้ถึงชายฝั่ง

47. พื้นที่ใดที่โดยส่วนใหญ่จะเกิดแผ่นดินไหวระดับตื้นที่สัมพันธ์กับรอยเลื่อนปกติ (normal fault)

 ก.ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกันข.ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่ออกจากกัน
 ค.ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนที่เข้าหากันง.ไม่มีข้อใดถูก

48. Wadati-Benioff Zone สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด

 ก.สันเขากลางมหาสมุทรข.เทือกเขาโบราณ
 ค.เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกง.ถูกทุกข้อ

49. ในทางแผ่นดินไหววิทยา คลื่นปฐมภูมิ (P wave) มีประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์อะไร

 ก.ความลึกแผ่นดินไหวข.ขนาดแผ่นดินไหว
 ค.การเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนง.ตำแหน่งแผ่นดินไหว

50. ข้อใด ไม่ใช่ เทคโนโลยีการพยากรณ์แผ่นดินไหวระยะสั้นในปัจจุบัน

 ก.แสงแผ่นดินไหวข.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
 ค.เมฆแผ่นดินไหวง.ก๊าซเรดอน

51. ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดินก่อนเกิดแผ่นดินไหว

 ก.น้ำขุ่นขึ้นข.มีฟองอากาศ รสขม
 ค.มีการหมุนวนของน้ำง.กลิ่นก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

52. ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งกำเนิดสึนามิสำหรับประเทศไทย

 ก.เขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามันข.ภูเขาไฟการากะตัว
 ค.เขตมุดตัวมะนิลาง.ภูเขาไฟพินาตูโบ

53. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบของการป้องกันอาคารจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว

 ก.mass damperข.isolate base
 ค.rolling pillarง.shear wall

54. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขนาดแผ่นดินไหวที่มีค่าติดลบ

 ก.แผ่นดินไหวขนาดเล็กมากข.เป็นไปไม่ได้
 ค.แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากง.ไม่มีข้อใดถูก

55. ข้อใด ไม่ใช่ รูปแบบเมฆที่ตรวจวัดได้ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

 ก.เมฆเส้น (line)ข.เมฆขนนก (feather)
 ค.เมฆริ้วราย (ripple)ง.เมฆแผ่กระจาย (radiation)

56. ก๊าซชนิดใด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นและไม่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว

 ก.ฮีเลียมข.ไฮโดรเจน
 ค.มีเทนง.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

57. เครื่องบันทึกแผ่นดินไหวสามารถตอบสนองคลื่นแบบใด

 ก.คลื่นไหวสะเทือนทุกชนิดข.การสั่นในแนวดิ่ง
 ค.การสั่นในแนวระนาบง.การสั่นในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

58. ข้อใดไม่สามารถวิเคราะห์ได้จากคลื่นไหวสะเทือน

 ก.ความลึกแผ่นดินไหวข.ตำแหน่งแผ่นดินไหว
 ค.จำนวนผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวง.ขนาดแผ่นดินไหว

59. คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ชนิดใดที่แผ่ออกทุกทิศทางจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

 ก.คลื่นเนื้อโลก (body wave)ข.คลื่นพื้นผิว (surface wave)
 ค.คลื่นสะท้อน (reflected wave)ง.คลื่นหักเห (refracted wave)

60. ข้อใดคือรอยเลื่อนมีการเลื่อนตัวไปในทิศ การเอียงเท (dip-slip) และ การวางตัว (strike-slip) ไปในเวลาเดียวกัน

 ก.plungingข.recumbent
 ค.nonplungingง.oblique

เฉลยแบบฝึกหัด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

1.F 2.T 3.T 4.F 5.T
6.F 7.F 8.F 9.T 10.F
11.F 12.T 13.F 14.T 15.T
16.F 17.F 18.F 19.F 20.F

3) แบบฝึกหัดปรนัย

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13. 14. 15.
16. 17. 18. 19. 20.
21. 22. 23. 24. 25.
26. 27. 28. 29. 30.
31. 32. 33. 34. 35.
36. 37. 38. 39. 40.
41. 42. 43. 44. 45.
46. 47. 48. 49. 50.
51. 52. 53. 54. 55.
56. 57. 58. 59. 60.

4) แบบฝึกหัดอัตนัย

คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์

1. กระจุกแผ่นดินไหว (earthquake swarm) เกิดจากอะไร และมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากแผ่นดินไหวที่เกิดโดยทั่วไปอย่างไร

 
 
 

2. ทรายพุ (liquefaction) เกิดจากกลไกอะไร และส่งผลกระทบด้านภัยพิบัติอย่างไรต่ออาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

 
 
 

3. ยกตัวอย่างกิจกรรมของมนุษย์ที่กระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหว (is induced หรือ man-made seismicity)

 
 
 

4. คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ในแต่ละชนิดส่งผลต่ออาคารสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบใดบ้าง และคลื่นชนิดใดที่สร้างความเสียหายได้มากที่สุด

 
 
 

5. คลื่นภายในโลก (body wave) และ คลื่นพื้นผิว (surface wave) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

 
 
 

6. อธิบายกระบวนการเกิดสึนามิเนื่องจากกิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐาน

 
 
 

7. อธิบายคำจำกัดความของ คาบอุบัติซ้ำแผ่นดินไหว (earthquake return period) หลักการประเมินและประโยชน์จากข้อมูลคาบอุบัติซ้ำแผ่นดินไหว

 
 
 

8. อธิบายหลักการทำงานของ เครื่องบันทึกแผ่นดินไหว (seismograph)

 
 
 

9. อธิบายหลักการวิเคราะห์จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

 
 
 

10. แนะนำวิธีปฏิบัติตัวในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อย 4 สถานการณ์

 
 
 

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024