สำรวจ

ปราสาทเมืองเก่า เนียงเขมาเมืองไทย

สำรวจโดย : สันติ ภัยหลบลี้ และ กังวล คัชชิมา

ในการเที่ยวชมปราสาทหินทั้งของไทยและกัมพูชา หนึ่งในลีลาที่คนพื้นที่หรือไกด์ทัวร์ พยายามจะสร้างสเน่ห์ให้ปราสาทแต่ละที่ให้มีความเป็นปัจเจก มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือการสกัดจุดเด่น และตั้งฉายาให้กับปราสาทแต่ละหลัง เช่นปราสาทในแถบนครวัด-นครธม ก็จะเน้นความยิ่งใหญ่อลังการ ปราสาทเกาะแกร์ ได้ฉายาว่า พีระมิดแห่งเอเชีย ปราสาทบันทายสรี ถึงจะเป็นประสาทขนาดเล็กแต่ก็มีการแกะสลักหินให้มีลวดลายวิจิตรงดงาม จนน่าหลงใหล และอีกหนึ่งปราสาทเอกลักษณ์ของกัมพูชา ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปสัมผัส และขอหยิบมาเล่าในบทความนี้ คือ ปราสาทเนียงเขมา (Prasat Neang Khmau)

ปราสาทเนียงเขมา กัมพูชา

ปราสาทเนียงเขมา (Prasat Neang Khmau) คือหนึ่งในปราสาทของกลุ่มปราสาทเกาะแกร์ ในจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา ห่างจาก เสียมราฐ ประมาณ 120 กิโลเมตร ในทางโบราณคดี ปราสาทเนียงเขมามีสถานะเป็นศาสนสถานขนาดเล็ก สร้างด้วยศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ศิลป์ รบกวนผู้อ่านศึกษาจากท่านผู้รู้จริงตามเว็บต่างๆ กันนะครับ เพราะไม่ใช่ทางช่ำชองของผู้เขียน แต่จุดเด่นที่จะเป็นประเด็นในบทความ ของปราสาทหลังนี้ คือ ผนังโดยรอบปราสาทเนียงเขมา ที่มีสีดำเมี่ยมสะดุดตา แตกต่างจากปราสาทอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ทำให้ปราสาทขนาดเล็กหลังนี้ ดูมีมนต์ขลังไม่เหมือนใคร

ปราสาทเนียงเขมา ฝั่งตรงข้ามของปราสาทปรัม ภายในพื้นที่กลุ่มปราสาทเกาะแกร์ จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา (ที่มา : www.trip.com)

เนียง ภาษาเขมร แปลว่า เธอ นาง น้อง (ผู้หญิง)

เขมา ภาษาเขมร แปลว่า ดำ

ปราสาทเนียงเขมา แปลเป็นไทยตรงๆ ว่า ปราสาทนางด

ปัจจุบัน มูลเหตุของความดำที่เห็น ถูกสันนิษฐานไปหลายทิศทาง ไม่ว่าจะเป็น 1) ตั้งใจทาสีดำมาตั้งแต่ต้น 2) ตั้งใจทายางไม้มาตั้งแต่ต้น และสีดำเกิดจากยางไม้ 3) สมัยก่อนตัวปราสาทอาจจะมีลายปูนปั้นและปิดทองทาสี ต่อมาสีหลุดร่อนไป ทำให้มีสีดำ หรือแม้กระทั่ง 4) คาดว่าตัวปราสาทเคยถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ ผลที่ได้คือมีเขม่าควันติดอยู่ ฯลฯ (ที่มา : www.trip.com) ซึ่งชุดข้อสันนิษฐานเหล่านี้ ถูกนำมาใช้ในการบรรยายและอธิบายให้กับแขกผู้มาเยือน รุ่นแล้วรุ่นเล่า

ปราสาทเมืองเก่า นครราชสีมา

แหม่ !!! ไอ่เราก็ไม่รู้วววว ว่าดำเมี่ยมแบบนี้เค้าเรียกว่าเท่ห์ มีสไตล์ เพราะถ้าย้อนกลับมาควานหาดูในประเทศไทย อ่าาา บ้านเราก็มี๊ ภาพด้านล่าง คือ ปราสาทเมืองเก่า ที่อยู่ภายในวัดปรางค์เมืองเก่า ต. โคราช อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา อยู่ใกล้ๆ กับ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทบ้านบุใหญ่ และเมืองเสมา ประวัติในทางโบราณคดี ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1763) โดยมีสถานะทางเจตนาเป็น อโรคยาศาลา หรือสถานพยาบาลในอดีต

ปราสาทเมืองเก่า จังหวัดนครราชสีมา อโรคยาศาลา ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ซึ่งนอกเหนือจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตัวปราสาทเมืองเก่าหลังนี้ ยังมีความดำเมี่ยม เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ดำทมึนไม่เหมือนกับปราสาทหลังไหนๆ ในบ้านเรา ซึ่งถ้าความดำ ความเขมานั้นมีค่ามีราคา ผู้เขียนก็ขออนุญาตตั้งฉายาให้กับปราสาทหลังนี้ว่า “ปราสาทเมืองเก่า เนียงเขมาเมืองไทย”

ภาพโคลสอัพ กำแพงของปราสาทเมืองเก่า แสดงการถูกเคลือบด้วยสีดำเมื่อม ที่ก้อนศิลาแลง

เนินนางอรพิมพ์ ปราสาทหินพนมวัน

นอกจากนี้จากการสำรวจเชิงสังเกตในปราสาทหลายๆ ที่ ที่เคยไปมา ผู้เขียนพบว่าก็มีอยู่บ้าง ที่บางส่วนของสิ่งปลูกสร้าง มีสีดำเมี่ยม เหมือนปราสาทเมืองเก่า และปราสาทเนียงเขมา เช่น โบราณสถาณ เนินนางอรพิมพ์ ที่อยู่ในละแวก ปราสาทหินพนมวัน จ. นครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็น พลับพลาลงสรง หรือ เรือนรับรองเจ้านาย ในอดีต สภาพโดยทั่วไปคือ แนวฐานอาคารที่สร้างด้วยศิลาแลง และศิลาแลงที่ใช้ ส่วนใหญ่ก็ดำเมี่ยม มันแผลบ เหมือนกันกับที่ปราสาทเมืองเก่า และปราสาทเนียงเขมา

เพิ่มเติม : พนมวัน – ธรณีวิทยา : ปราสาทหินสไตล์ LGBTQ+

สภาพพื้นที่ เนินนางอรพิมพ์ โบราณสถาณที่อยู่ทางทิศตะวันออกของ ปราสาทพนมวัน จ. นครราชสีมา

จากการพบเห็นลักษณะความดำเมี่ยมของก้อนศิลาแลงที่ใช้สร้างปราสาทในประเทศไทย แอบเป็นตัวบ่งชี้เบาๆ ว่าปราสาทเนียงเขมา ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก สีดำเพราะเขม่าควันจากการถูกไฟไหม้ หรือการทาสีดำ หรือสีดำจากยางไม้ ก็อาจจะเป็นสมมุติฐานที่ยังดูเบาไป เพราะปราสาทเมืองเก่าของไทย ก็ดำเฉพาะตัวอาคารหลัก (ศิลาแลงของกำแพงโดยรอบยังปกติ) แถมแนวศิลาแลงที่เนินนางอรพิมพ์ ก็มีเพียงบางก้อนที่เลือกจะดำ ก็คงเป็นไปได้ยาก ที่ไฟจะเลือกศิลาแลงเพียงบางก้อน เพื่อเผาไหม้ ผู้เขียนจึงตั้งสมมุติฐานใหม่ว่า น่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือทางธรณีวิทยาอะไรบางอย่าง ที่ทำให้ศิลาแลง แสดงสีดำออกมา

ศิลาแลงในพื้นที่เนินนางอรพิมพ์ ที่ถูกเคลือบด้วยสีดำ คล้ายกับ ปราสาทเมืองเก่า และปราสาทเนียงเขมา

ทำไมถึงดำ ?

จากประเด็นความดำ ที่ถูกทำให้เป็นประเด็น ผู้เขียนได้ลองสืบค้นงานวิจัยและบทความทางวิชาการ พบว่าประเด็นดำนี้ มีนักธรณีวิทยาชาวญี่ปุ่น (Uchida, 2016) เคยเข้าพื้นที่ ไปศึกษาเหตุของความดำในมิติวิทยาศาสตร์ กลับปราสาทหลายแห่งในกัมพูชา ผลการวิเคราะห์สรุปออกมาว่า ความดำจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณพื้นผิวของศิลาแลงบางก้อน และเกิดจากการตกตะกอนของ แมงกานีสออกไซด์ (Mn3O4) ซึ่งส่วนใหญ่ฟอร์มตัวอยู่ในรูปของ อะมอร์ฟัส (amorphous) แต่บางส่วนก็อยู่ในรูปของ เบอร์เนสไซต์ (birnessite) และ โทโดโรไคต์ (todorokite) โดยจากการถ่ายภาพพื้นผิวศิลาแลงด้วย กล้องจุลทรรศน์ความละเอียดสูง (SEM) แสดงให้เห็นผลึกของแมงกานีสออกไซด์ รูปทรง แผ่นหกเหลี่ยม (hexagonal) ขนาด 100-300 นาโนเมตร เคลือบพื้นผิวของศิลาแลงอยู่

ภาพถ่ายแสดงการเปลี่ยนเป็นสีดำ ออกประสาทหลายๆ ที่ ในประเทศกัมพูชา ซึ่งคาดว่าน่ามาจากการตกตะกอนของแมงกานีสออกไซด์ บนพื้นผิวของวัสดุก่อสร้าง (ที่มา : Uchida, 2016)

Uchida (2016) สรุปกลไกการเกิดความเขมาว่า อาจเริ่มต้นจากกิจกรรมของจุลินทรีย์สร้างออกซิเจน เมื่อรวมกับธาตุแมงกานีส ที่อาจมีอยู่หนาแน่นในศิลาแลงเพียงบางก้อน ทำให้เกิด แมงกานีสออกไซด์ (Mn3O4) ที่มีสีดำเมี่ยม ซึ่ง Uchida (2016) ยังให้คำแนะนำว่า หากไม่ถูกใจ สามารถกำจัดออกได้ง่ายๆ โดยใช้ตัวรีดิวซ์ เช่น สารละลายกรดออกซาลิก (oxalic acid solution)

กราฟแวดงอัตราส่วนความเข้มข้นของธาตุองค์ประกอบ วิเคราะห์ในพื้นที่สีดำ เทียบกับธาตุในพื้นที่ที่ไม่มีสีดำ บนพื้นผิวของศิลาแลงและวัสดุก่อสร้างอื่นๆ จากปราสาทหลายที่ ในประเทศกัมพูชา Uchida (2016) พบว่าพื้นที่สีดำแสดงความเข้มข้นของธาตุแมงกานีส สูงอย่างเห็นได้ชัด (Mn ริมซ้ายสุดของกราฟ)

ดังนั้นกล่าวโดยสรุป 1) ความเขมาไม่ได้มีแค่ที่ ปราสาทเนียงเขมา เพราะที่ปราสาทเมืองเก่าและเนินนางอรพิมพ์ ของไทยก็มีให้เห็น 2) ความเขมาไม่ใช่เหตุเพราะเขม่าควัน หรือยางไม้ อย่างที่หลายท่านสันนิษฐานและเล่าต่อกันมา 3) มูลเหตุของความเขมา มาจาก แมงกานีสออกไซด์ และกำจัดออกได้ง่ายด้วยตัวรีดิวซ์

โอ้ววว เนียง… แมงกานีสสสสสส

ภาพถ่ายความละเอียดสูง จากกล้องจุลทรรศน์ SEM บนพื้นผิวแมงกานีสออกไซด์ ที่เคลือบติดวัสดุก่อสร้าง ที่ใช้ในปราสาทต่างๆ หมายเลข 3401 จากปราสาทบายน หมายเลข 3402 จากปราสาทเนียงขเมา หมายเลข 3404 จากปราสาทบันทายปีร์จัน หมายเลข 3405 จากปราสาทแม่บุญตะวันออก หมายเลข 3412 จากหอคอย S1 ปราสาทสมโบร์ไพรกุก และหมายเลข 3413 จากหอคอย C1 ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

อ้างอิง

  • Uchida, E., Watanabe, R. and Osawa, S. 2016. Precipitation of manganese oxides on the surface of construction materials in the Khmer temples, Cambodia. Herit Sci 4(16): 1-17. DOI 10.1186/s40494-016-0086-1

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024