สำรวจ

10 ภูเขาไฟ ยุคใหม่ของไทย

นับตั้งแต่ดินแดนที่ปัจจุบันเราเหมาว่าเป็นไทย ถือกำเนิดโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเป็น แผ่นเปลือกโลกทวีปย่อย (craton) อย่างน้อยๆ ก็ราวๆ 440-550 ล้านปีก่อน (อายุของ กลุ่มหินตะรุเตา ยุคแคมเบรียนและยุคออร์โดวิเชียน) จวบจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเคยมีกิจกรรมทางภูเขาไฟมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น 1) ภูเขาไฟที่เกิดจากการแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก ในสมัยที่ประเทศไทยบางส่วน เคยเป็นแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร หรือ 2) ภูเขาไฟที่เกิดจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลก ในสมัยที่ ด้ามขวานของไทย (ภาคเหนือ-ตะวันตก-ใต้) เข้ามาชนและประชิดกับ ใบขวานของไทย (ภาคอีสาน) ซึ่งด้วยกาลเวลาที่ผ่านมายาวนาน ภูเขาไฟรุ่นเก่าที่ว่า ต่างก็ถูก กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) บีบอัด บดบู้บี้ ประกอบกับ กระบวนการผุพัง (weathering) จนทำให้ไม่เหลือเค้า โครงความเป็นภูเขาไฟ เกินที่เราจะจินตนาการ เหลือแต่ซากหินอัคนี ในหลายๆ พื้นที่ ที่เป็นตัวบ่งชี้ว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นภูเขาไฟ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่สิ้นภูเขาไฟ เพราะด้วยกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานที่เอื้ออำนวย ในช่วงมหายุคสุดท้ายในทาง ธรณีกาล (geological time scale) อย่าง มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) ผืนแผ่นดินไทยก็เคยเกิดภูเขาไฟขึ้น และยังคงหลงเหลือซากเอาไว้ให้เราได้เห็น ซึ่งก็คือประเด็นหลัก ที่ตั้งใจจะเล่าในบทความนี้

ธรณีวิทยาน่าเล่า

ในช่วง มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) หรือประมาณ 66 ล้านปีก่อน จนถึงปัจจุบัน สืบเนื่องจาก แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) เข้ามาชนและมุดลงไปใต้ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) ในทิศเหนือค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ (NNE) นอกจากจะทำให้เกิดภูเขาไฟอาการชลวุฒิกันของแผ่นเปลือกโลก ตามร่องรอยการชนกันของแผ่นเปลือกโลกปัจจุบันที่เรียกว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) ยังส่งแรงทอดต่อเข้ามาในแผ่นยูเรเซีย

ภาพสโลว์โมชั่นแสดงการวิ่งอย่างช้าๆ ของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ที่กำลังพุ่งเข้าชนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในทิศทางเกือบเหนือค่อนไปทางตะวันออกนิดๆ ทำให้แผ่นเปลือกโลกทั้งสองซ้อนทับกันบูบี้ ยู่ยี่ และยกตัวขึ้นมาเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย รวมทั้งเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ อีกมากมายภายในแผ่นยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน
  • เกิดการยกตัวของ เทือกเขาหิมาลัย สูงขึ้นทุกๆ ปี ปีละ 4-5 มิลลิเมตร และเกิด ที่ราบสูงทิเบต อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
  • พื้นที่ตรงกลางของไทยเปิดออกในแนว เหนือ-ใต้ (ด้ามขวานแยกออกจากมบขวาน) โดยพื้นที่ข้างล่างเปิดก่อนพื้นที่ด้านบน อ่าวไทย > ภาคกลาง > ภาคเหนือ ตามลำดับ
  • อ่าวไทย ถูกดึงยืดออกในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเปิดอ่าวไทยกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปิโตรเลียมและถ่านหิน ส่วนใหญ่ของไทย ก็ค่อยๆ สะสมกันในช่วงนี้
  • ภาคกลางของไทยก็เปิด ตะกอนจากแม่น้ำเข้ามาถมกลายเป็นที่ราบลุ่มต่ำ เป็นแหล่งสะสมตะกอนของกระบวนการทางน้ำที่ไหลลงมาจากภาคเหนือ
  • ภาคเหนือของไทย ทรุดเป็นแอ่งๆ กลายเป็นที่ราบสลับทิวเขา ซึ่งในทางธรณีวิทยา เราแบ่งแอ่งที่ราบต่างๆ ตั้งตามชื่อจังหวัด เช่น แอ่งเชียงใหม่ ลำปาง และก็มีแอ่งยิบแอ่งย่อยอีกมากมาย เช่น เชียม่วน แอ่งลี้ เป็นต้น
(ซ้าย) ทิศทางการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ที่กำลังวิ่งเข้าชนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เกิด แนวเทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Mountain) ที่ราบสูงทิเบต (Tibet Plateau) ตลอดจนเป็นสาเหตุทำให้รอยเลื่อนต่างๆ ที่อยู่ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงรอยเลื่อนที่อยู่ในประเทศไทย เกิดการเลื่อนตัวอยู่ทุกวันนี้ (ขวา) แบบจำลองการบิออกและขยาย ผายพื้นที่ของแผ่นดินไทยและพื้นที่ข้างเคียง อันเป็นผลเนื่องมาจากแผ่นอินเดียวิ่งชนยูเรเซีย
แขนวงเวียนด้านซ้าย คือ ด้ามขวานทองของไทย (ภาคเหนือฝั่งตะวันตก ภาคตะวันตก และภาคใต้ของไทย) ส่วน แขนวงเวียนด้านขวา คือ พื้นที่ภาคอีสาน ภาคตะวันออกและกัมพูชา
จากภาพ 1) อ่าวไทยขยายเปิดก่อน ตามด้วย 2) ที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย และ 3) ภาคเหนือ ตามลำดับ
  • ภูเขาไฟรุ่นใหม่ๆ เช่น เขาพนมรุ้ง เขากระโดง ภูพระอังคาร ที่บุรีรัมย์ ดอยผาคอกจำป่าแดด ดอยผาคอกหินฟู ที่ลำปาง เขาพลอยแหวน ที่จันทบุรี ก็ประทุใน EP. นี้
  • พลอยเมืองจันฯ พลอยเมืองกาญฯ ก็ถูกหินอมมาในยุคนี้

เพิ่มเติม : แผ่นดินไทยมาจากไหน ? : นิทาน . ธรณีแปรสัณฐาน . ประเทศไทย

บุรีรัมย์

เขากระโดง ต. เสม็ด อ. เมืองบุรีรัมย์ จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/Aq8yBRPVJstdQor37

(ก) (ที่มา : www.balancemag.net) (ข) (ที่มา : www.thaipost.net) (ค) (ที่มา : www.wikipedia.org)

เขาพระอังคาร ต. เจริญสุข อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/5dx5iTzJC6rwyMhX8

เขาพนมรุ้ง ต. ตาเป๊ก อ. เฉลิมพระเกียรติ จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/D5e4LyKWRvcdUiQi9

ภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth แสดงภูมิลักษณ์ (landform) ของเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟลูกโดด อยู่กลางที่ราบ

เขาปลายบัด ต. จรเข้มาก อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/AV49KwhALBdvKv2w7

ปากปล่องภูเขาไฟคอก (บ่อน้ำตายอ) ต. เขาคอก อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์
https://goo.gl/maps/Habo6hiigjJEMdKy8

หินกรวดภูเขาไฟ

สภาพภูมิประเทศบริเวณภูเขาพนมรุ้ง และพื้นที่ข้างเคียง สี่เหลี่ยมขาว – โบราณสถาณและประสาทสำคัญ เช่น พนมรุ้ง เมืองต่ำ และบ้านมีไฟต่างๆ, สี่เหลี่ยมเหลือง – ปราสาทขนาดเล็ก, วงกลมเขียว – แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา อ. บ้านกรวด, วงกลมเขียว – แหล่งถลุงเหล็ก อ. บ้านกรวด

นอกจากนี้ยังมีภูเขาลูกโดดกระจายตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่อีก 2-3 ลูก ได้แก่ เขาอังคาร เขาพนมรุ้ง และ เขาปลายบัด ซึ่งพื้นที่ที่ถัดจากทั้งเขาพนมดงรักและเขาลูกโดดต่างๆ เป็นพื้นที่ราบลูกฟูก หรือเนินหลังเต่า หรือเนินลูกระนาด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมตัวของ ตะกอนเชิงเขา (colluvium) หรือล้อไปกับหินฐานธรณีเดิม และถัดลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและที่ราบน้ำท่วมถึง อันเนื่องมาจากการกัดก่อนและสะสมตัวของตะกอนทางน้ำ

สุรินทร์ – ศรีสะเกษ

ภูฝ้าย ต. ภูฝ้าย อ. ขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ
https://goo.gl/maps/yBXwNetvKVBZYbWU9

วนอุทยานพนมสวาย ต. นาบัว อ. เมืองสุรินทร์ จ. สุรินทร์
https://goo.gl/maps/e82p71K8EEDdG8cV7

(ก) โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย-อำเภอขุนหาญ-จังหวัดศรีสะเกษ (ที่มา : www.finearts.go.th) (ข) ภูฝ้าย (ที่มา : https://mapio.net)

ลำปาง

ดอยผาคอกจำป่าแดด ต. แม่เมาะ อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง
https://goo.gl/maps/NH4K4Z7TNRZDwMC86

มีลักษณะป็นภูเขารูปร่างทรงกรวย มีความสูงจากพื้นราบประมาณ 180 เมตร รัศมีประมาณ 250 เมตร ยอดภูพบลักษณะของหลุมกว้างประมาณ 80 เมตร ซึ่งเป็นปล่องภูเขาไฟ แต่สังเกตุได้ยากเนื่องจากมีต้นไม้ปกคลุม และมีชั้นดินปกคลุมหนา

ดอยผาคอกหินฟู ต. แม่ทะ อ. แม่ทะ จ. ลำปาง
https://goo.gl/maps/LSeWHunjfot7FqSx8

มีลักษณะเป็นเนินเขาสูงปานกลาง มีความสูงจากพื้นราบประมาณ 120 เมตร ไม่แสดงลักษณะภูเขาทรงรูปกรวย บนยอดเนินพบหลุมขนาดใหญ่ รัศมีประมาณ 150 เมตร เป็นปล่องภูเขาไฟ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติตัดขนานไปตามขอบของปล่องภูเขาไฟ ตามขอบภูเขาไฟพบหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลต์และสะคอเรีย ภูเขาไฟทั้งสองลูกระเบิดเกิดเป็นภูเขาไฟขึ้นเมื่อประมาณ 800,000 ปี ที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว

(ก) (ข) (ที่มา : https://www.dmr.go.th/ภูเขาไฟลำปาง/) (ค) (ที่มา : )

ภูเขาไฟเกาะคา ต. นาแส่ง อ. เกาะคา จ. ลำปาง
https://goo.gl/maps/kWMknRktxKkz3d62A

เขาพลอยแหวน เขาวัว จันทบุรี

(ก) (ที่มา : ) (ข) (ที่มา : @xianggjiiao) (ค) (ที่มา : @xianggjiiao)

เขาพลอยแหวน ต. พลอยแหวน อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี
https://goo.gl/maps/W3X6dwBToAvAmfAH8

เขาตานก ต. เขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี
https://goo.gl/maps/KoHywuzhbk2dNQWt9

เลย

ภูขี้เถ้า ต. นาดอกคำ อ. นาด้วง จ. เลย
https://goo.gl/maps/jREc3dcAoF2y7RJy9

https://www.loeitime-online.com/2014/07/360.html?m=1

ภูหอ (ฟูจิเมืองเลย) ต. ภูหอ อ. ภูหลวง จ. เลย
https://goo.gl/maps/UnKezffjVLWwUyMx6

ซากแมกมา

เขาสามมุก ต. แสนสุข อ. เมืองชลบุรี จ. ชลบุรี
https://goo.gl/maps/QUZ8jAZ7sSY67eLn7

ในทางภูมิศาสตร์ เขาสามมุขตั้งอยู่ที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นภูเขารูปทรงรี ทอดยาวประมาณ 1.3 กิโลเมตร แต่หน้ากว้างอยู่ที่ 200-300 เมตร (เรียวรี) วางตัวอยู่ในแนว ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงตาย (NW-SE) ริมชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรี ซึ่งในทาง ธรณีวิทยาทางทางทะเล (marine geology) เขาสามมุขถือเป็น หัวหาด (headland) ที่เป็นตัวควบคุมระบบการทำงานหรือรูปร่างของชายฝั่งแถบอ่างศีลาทางตอนเหนือและหาดบางแสน หาดวอนนภา ทางตอนใต้

ภาพมุมสูงแสดงตำแหน่งและรูปร่างของเขาสามมุข แนวสันเขา ขาวๆ ด้านบน คือ แนวควอตซ์ไดค์ ขนาบด้วยหินแปร ที่แปรสภาพจากความร้อนที่ถ่ายมาจากไดค์

อภิมหาผนังแทรกชั้นตามขวาง – จากการสำรวจภูเขาต่างๆ แทบจะทั่วทั้งโลก หมู่มวลนักธรณีวิทยาทั้งไทยและเทศต่างสรุปได้ว่าโลกมี ลีลาในการสร้างภูเขา 6 แบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือภูเขาที่เกิดจากกระบวนการทางภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นแมกมาที่ปะทุขึ้นมาเป็นภูเขาไฟ หรือจะเป็นแบบที่แมกมาแทรกดันขึ้นมาค้างเติ่งอยู่ใต้ดิน เย็นตัวและแข็งตัวกลายเป็นหินฝังอยู่ใต้พื้นโลก ทำให้เกิด โครงสร้างของมวลหินอัคนีบาดาลรูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 1) หินอัคนีมวลไพศาล (batholith) 2) ลำหินอัคนี (stock) 3) พนังแทรกชั้นตามยาว (sill) 4) พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike) 3) โครงสร้างรูปเห็ด (laccolith) และ 4) โครงสร้างรูปฝักบัว (lopolith) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความเรื่อง รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา)

การเกิดภูมิลักษณ์จากการแทรกดันของแมกมา (Press และ Siever, 1982)

ซึ่งในส่วนของเขาสามมุขนั้น ก็คือภูเขาที่เป็นการแทรกดันของแมกมาในรูปแบบของ พนังแทรกชั้นตามขวาง (dike) หรือที่นิยมเรียกทับศัพท์ในแวดวงธรณีวิทยาว่า ไดค์ ซึ่งก็คือ โครงสร้างที่เกิดจากการแทรกดันของแมกมาในแนวตั้งฉากหรือขวางกับแนวระนาบของหินเดิม หรือหินท้องที่ที่มีอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไป ความแข็งที่แตกต่างกันระหว่างหินท้องที่เดิมและหินที่เกิดจากแมกมาแทรกดัน ทำให้ชั้นหินเดิมนั้นผุพังแต่ยังคงเหลือส่วนของหินที่เกิดจากแมกมาโผล่อยู่บนผิวโลก (ดูรูปที่ 2 ของรูปด้านบนประกอบ)

เพิ่มเติม : เขาสามมุข : ควอตซ์ . ไดค์ . ไซต์ . เวิลด์คลาส

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: