การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis)
นิยาม โดยคำจำกัดความ คำว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard) หมายถึง ระดับแรงสั่นสะเทือนของพื้นดินในแต่ละพื้นที่ ในขณะที่คำว่า เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว (seismic risk) หมายถึง ระดับความเสี่ยงภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งประเมินจากมูลค่าหรือความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีโอกาสได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ดังนั้นในทาง วิทยาคลื่นไหวสะเทือน หรือ ...
รอยเลื่อนฝั่งตะวันตกของไทย : มีที่ไม่น่าไว้ใจอยู่ 2-3 ที่
ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ประเทศไทยและเพื่อนบ้านตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) ซึ่งในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย (Indo-Australia Plate) กำลังวิ่งชนและมุดลงไปใต้แผ่นยูเรเซียบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ผลจากการชนกันทำให้เกิดแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน บีบอัดแผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นและยกตัวสูงขึ้นกลายเป็น แนวเทือกเขาอาระกัน (Arakan-Yoma thrust range) ทางฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า นอกจากนี้แรงเค้นดังกล่าวยังส่งผลเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนรอยต่อ ...
การเกิดแหล่งแร่เบื้องต้น
แหล่งแร่ (mineral deposit) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ที่มีแร่สะสมตัวในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเพียงพอในทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า แหล่งสินแร่ (ore deposit) ที่หมายถึง แหล่งแร่ที่มีปริมาณมากพอที่จะนำออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยมีกำไร นักธรณีวิทยาจำแนกชนิดแหล่งแร่ตามรูปแบบการสะสมตัวได้หลากหลายรูปแบบโดยในเบื้องต้น ได้แก่ 1) แหล่งแร่แบบฝังประ แหล่งแร่แบบฝังประ ...
ภูมิลักษณ์จากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง
ในธรรมชาติ พื้นที่ที่จะเกิดธารน้ำแข็งได้มีอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ 1) ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) ซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว และ 2) ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาที่มีระดับความสูงพอที่จะทำให้อากาศเย็นและเกิดการสะสมตัวของธารน้ำแข็งได้ ซึ่งในกรณีของธารน้ำแข็งพื้นทวีป ...
ชั้นน้ำใต้ดินและการเคลื่อนที่
จากคุณสมบัติ ความพรุน (porosity) และ ความสามารถในการซึมผ่าน (permiability) ของชั้นดินหรือชั้นหินในแต่ละพื้นที่ นักธรณีวิทยาจำแนกชั้นหินตามศักยภาพในการเป็นชั้นน้ำบาดาลออกเป็น 2 ชนิด หลักๆ 1) ชั้นหินต้านน้ำ (aquitard) คือ ชั้นหินที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ต่ำหรือไม่สามารถซึมผ่านได้เลย เช่น ชั้นหินดินดานหรือหินแปรเนื้อแน่น ...
ฝั่ง . หาด . ชายฝั่ง . ชายหาด ต่างกันยังไง
ถ้าจะเรียกแบบเหมาๆ ริมทะเล ถือเป็นพื้นที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของมนุษย์ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้กระทั่งภัยพิบัติที่น้ำทะเลทำกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น สึนามิ คลื่นพายุซัดฝั่ง การกัดเซาะชาายฝั่ง ทั้งหมดทั้งมวลก็ล้วนแต่เกิดขึ้นบริเวณริมทะเลนี้ทั้งนั้น และในทางปฏิบัติเวลาเราจะนัดหรือชวนใครไปที่ริมทะเล เราก็จะเรียกริมทะเลนั้นแตกต่างกัน ตามความคุ้นชินของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น ฝั่ง ชายฝั่ง ...
ความรู้พื้นๆ ของน้ำใต้ดิน
น้ำใต้ดิน (groundwater) คือ น้ำที่ได้จากการซึมผ่านของ น้ำผิวดิน (surface water) และถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินตามช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน รวมทั้งโพรงหรือรอยแตกของหินใต้ดิน ซึ่งถึงแม้ว่าโดยสัดส่วนของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก น้ำใต้ดินจะมีปริมาณเพียง 0.62% ของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก แต่น้ำใต้ดินถือเป็นทรัพยากรแหล่งน้ำบริสุทธิ์ที่สำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์ ซึ่งหากพิจารณาเรื่องแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินเป็นเกณฑ์ นักวิทยาศาสตร์จำแนกชั้นดินหรือชั้นหินใต้พื้นผิวโลกออกเป็น 2 โซน ...
การจัดระบบและจัดจำแนกรูปแบบธารน้ำในธรรมชาติ
ระบบธารน้ำ เนื่องจากธารน้ำในธรรมชาติจะประกอบด้วยธารน้ำสาขาจำนวนมากที่ไหลลงมารวมกัน ดังนั้นเพื่อให้มีการทำความเข้าใจตรงกันในการสื่อสารในการบริหารจัดการน้ำ นักอุทกวิทยาจึงมีหลักการในการ ลำดับธารน้ำ (stream order) อย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบธารน้ำ (drainage system) โดยกำหนดให้ธารน้ำที่ไหลออกจากต้นน้ำหรือแหล่งกำเนิด เรียกว่า ธารน้ำสาขาที่ 1 (1st order ...
ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว : ความเงียบที่รอวันระเบิดกับการวิเคราะห์เชิงสถิติ
หลักคิด เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมการปริแตกของหินหรือรอยเลื่อนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวในธรรมชาติ Sobolev (1995) ได้จำลองการเกิดแผ่นดินไหวจากการลองบีบอัดหินและตรวจวัดจำนวนเสียงปริแตกของหิน ซึ่งคล้ายกับการทดสอบของ Main และคณะ (1989) ในการวิเคราะห์ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ FMD แต่ผลการทดสอบของ Sobolev (1995) ตรวจพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการปริแตกของหิน และอธิบายว่าในระยะเริ่มต้นบีบอัดหินจำนวนเสียงปริแตกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มแรงบีบอัดมากขึ้น ...
โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ตลอดแนวหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถือเป็นขอบของการชนกันระหว่าง 1) แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และ 2) แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) ซึ่งด้วยความที่เป็นขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ...
จับสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใหญ่ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว
หลักคิด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (seismicity rate change) พัฒนามาากแนวคิด เขตช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) ซึ่ง McCann และคณะ (1979) อธิบายว่า ทุกพื้นที่ย่อยของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจะมีพฤติกรรมหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากพื้นที่ย่อยใดๆ ภายในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวต่ำกว่าพื้นที่ย่อยข้างเคียงหรือไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหว นักแผ่นดินไหวประเมินว่าพื้นที่ย่อยดังกล่าวกำลังสะสมความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานและอาจเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต ...
กลุ่มรอยเลื่อนในภาคเหนือของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต
นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน ...
กลุ่มรอยเลื่อนในภาคตะวันตกของไทย : แผ่นดินไหวในอดีตและนิสัยที่คาดเผื่อไว้ในอนาคต
ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงสลับแอ่งที่วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริเวณชายแดนภาคตะวันตกของประเทศไทย-พม่า จึงมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว (Charusiri และคณะ, 2007) เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนฮัทจีในประเทศพม่า (Pailoplee, 2009) เขื่อนภูมิพลในจังหวัดตาก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณในจังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนท่าทุ่งนาในจังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนกระเสียวในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics ...
เคล็ดลับการทำเบบี้เฟสหนังหน้าโลก
ถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างพื้นผิวของโลกและดวงจันทร์ มันก็เหมือนการเอาหน้าลุงแก่ๆ คนหนึ่งมาเทียบกับหน้าของเด็กวัยขบเผาะอายุซัก 14-15 ผิวหน้าโลกดูราบเรียบชุ่มชื้นและดูมีน้ำมีนวล ในขณะที่หนังหน้าของดวงจันทร์ดูแห้งกร้าน หยาบกระด้าง เพราะเต็มไปด้วยหลุม หรือริ้วรอยการตกกระทบของอุกกาบาต ตลอดช่วงอายุของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมา จะว่าไปความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เค้าเหลาๆ กันมา ก็บอกว่าโลกเกิดก่อนดวงจันทร์มาซักพัก ดังนั้นโลกก็ควรจะผ่านร้อนผ่านหนาวและควรจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตที่มากกว่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ควรจะยุบยับพอๆ หรือเท่าๆ กับที่เราเห็นบนดวงจันทร์ ...
กลวิธีชี้เป้า (แผ่นดินไหว)
ด้วยความที่ช่างเจริญพันธุ์ของคลื่นไหวสะเทือนนี้ ทำให้แม้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว จะมี ลูกๆ หลานๆ คลื่น 4 ชุด วิ่งตามกันมา จวบจนเมื่อครอบครัวคลื่นวิ่งมาชนเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เราวางดักไว้ คลื่นไหวสะเทือนจะถูกลอกลายลงบนกราฟบันทึกแผ่นดินไหวให้เราเห็นอย่างในรูปล่าง ด้วยความที่เกิดก่อน คลื่นรุ่นลูกอย่างพี่ปฐมจะวิ่งเข้าเส้นชัยถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นคลื่นแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยน้องทุตยที่วิ่งช้ากว่า ส่วนคลื่นเลิฟจริงๆ ก็มีฝีเท้าพอๆ กับพี่ปฐม แต่เพราะเกิดมาทีหลังเป็นรุ่นหลาน ...
การลำดับญาติ คลื่นแผ่นดินไหว
ถ้าจะให้ถูกต้องตามที่คนวงการแผ่นดินไหวเขาเรียกกัน คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว เขาเรียกกันว่า คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) แต่พวกเราจะเรียกคลื่นแผ่นดินไหว โดยส่วนตัวก็ไม่คิดว่าจะผิดอะไร ซึ่งโดยความหมาย คลื่นไหวสะเทือนก็คือคลื่นที่วิ่งอยู่ในตัวหรือบนพื้นผิวของโลก อันเป็นผลพวงมาจากพลังงานที่แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นปลดปล่อยออกมา โดยหลังจากที่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวถูกพัฒนาขึ้นมาจนเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว กราฟแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ทำให้เรารู้ว่าคลื่นไหวสะเทือนนั้น มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง คลื่นจะไหลมาเทมาเป็นชุดๆ ชุดของคลื่นหลากสไตล์หลายลีลาปะปนกัน ...
มนุษย์ก็สร้างแผ่นดินไหวได้
นอกจากกลไกของโลกที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ในปัจจุบัน ก็เป็นตัวสร้างหรือเหนี่ยวนำให้เกิดแผ่นดินไหว (induced earthquake) ได้เหมือนกัน เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี อยากมีแผ่นดินไหวเป็นของตัวเองซะอย่างงั้น ตัวอย่างก็พอจะมีให้เห็น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ นับตั้งแต่การนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ โดยคุณลุงชาวเยอรมันที่ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Einstein A.) และการยุติสงครามโลกครั้งที่ ...