สำรวจ

“ดงพญาไฟ” ทำไมถึงน่ากลัว ภูมิศาสตร์ อาจไขคำตอบ

เอาเขาหินปูนมาเทียบ

เอารูปร่างมาหาขนาดพื้นที่ ไร่

หาระยะทางในการเดินทางผ่านว่าเท่าไร่ ตัด crossection เลย

  • ดงพญาไฟ คือ อดีตป่าผืนใหญ่ กั้นระหว่าง สระบุรี-นครราชสีมา-ลพบุรี ซึ่งตีคร่าวๆ ก็คือ พื้นที่ในแถบมวกเล็กไปจนถึงขึ้นเขาแถวเขื่อนลำตะคอง โดยที่ วังน้ำเขียว ปากช่อง กลางดง แถวนั้นใช่หมด ขวางกั้นภาคอีสานกับภาคกลางให้ห่างเหินกัน
  • เมื่อก่อนดงพญาไฟเป็นป่ารกทึบ มีสัตว์ร้ายชุกชุม อุดมไปด้วยไข้ป่าหรือมาลาเรีย เป็นพื้นที่ต้องห้ามของนักเดินทาง กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกว่า เส้นทางไปโคราช เป็นเส้นเล็กๆ ฝ่ากลางดงพญาไฟ เขาหินปูนต้นไม้ทึบ เริ่มจาก เชิงเขาแก่งคอย ผ่านกลางดงไปออกจากดงที่ปากช่อง เดินได้อย่างเดียว เกวียนไม่ได้
  • เข้าลำบาก ออกก็ยาก ว่ากันว่าหลายชีวิตถูกทิ้งไว้ในนั้น ถึงกับเคยมีคำกล่าวว่า ใครที่ต้องเดินทางผ่านดงพญาไฟ ให้เตรียมหม้อดินติดตัวไปด้วย สำหรับใส่กระดูกของตัวเองฝากเพื่อนกลับมา
  • ต่อมา สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เคยเสด็จไปโคราชผ่าน ดงพญาไฟ เห็นว่าเย็นดีไม่ร้อน จึงเสนอให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. 4 เปลี่ยนชื่อเป็น ดงพญาเย็น คนจะได้หายกลัวด้วย
  • แต่ไหนแต่ไร คนชอบไปโคราชเส้นลพบุรีมากกว่า เช่น 1) สมัยพระนครมาพิมายจะไปลพบุรี (ละโว้) และเมืองศรีเทพ ก็นิยมใช้ช่องลงตรง เหวตาบัว ผ่านดงพญากลาง มาทุ่งซับจำปา เห็นได้จากหลักฐานโบราณสถานที่พบระหว่างเส้นทางคือ ปรางค์นางผมหอมใกล้บ้านโคกคลี บ้านปรางค์น้อย 2) สมัยอยุธยา เจ้าสามพระยาและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชใช้เดินทัพไปโจมตีเมืองเขมร 3) นายฮ้อยอีสานก็ต้อนวัวต้อนควาย ลงมาขายยังภาคกลาง ตามเส้นทางช่องสำราญและช่องตะพานหิน ลงสู่ภาคกลางผ่านทางช่องสำราญ ก่อนจะผ่านลำพญากลางที่บ้านโคกคลี ซึ่งภายหลังปี พ.ศ. 2467 กรมปศุสัตว์มาตั้งด่านกักสัตว์ที่นี่ และยังอยู่จนทุกวันนี้
  • คำถามคือ ทำไมดงพญาไฟ ถึงเป็นดงผืนใหญ่ ? และทำไมไม่ค่อยมีใครอยากเดินทางข้ามดงพญาไฟ ? และน่าประหลาด ที่เส้นทางเชื่อมอีสานกับภาคกลาง มักไม่ใช้เส้นทางผ่านดงพญาไฟช่วงสระบุรี-โคราช
  • หลังจากวิเคราะห์ เส้นทางการเดินทางที่เหมาะสม ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (GIS) ในหลายๆ หัวข้องานวิจัย เช่น 1) เส้นทางข้ามคาบสมุทรโบราณ 2) เส้นทางเดินทัพเจ้าอนุวงค์ ของลาว 3) เส้นทางเกวียนโบราณ และ 4) เส้นทางที่เหมาะสมจากจังหวัดสู่จังหวัดในปัจจุบัน
  • ผลการวิเคราะห์พบข้อชวนสังเกตที่ว่า ด้วยหลักคิดทางภูมิศาสตร์ พื้นที่ดงพญาไฟ ไม่เหมาะสำหรับการเดินทางมาแต่ไหนแต่ไร (เส้นทางวิเคราะห์จากเทคนิค GIS ไม่เลือกเดินผ่าน ด้วยเหตุผลความลำบากของภูมิประเทศ) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักว่าดงพญาไฟเป็นป่ารกแค่ไหน มีสัตว์ร้ายกี่ตัว หรือมีอาถรรถ์อะไรบ้าง
  • โดยสรุป ด้วยความที่มีทางเดินอื่นที่ดีกว่า ดงพญาไฟก็ไม่ได้เป็นตัวเลือกแรกในการเดินทางมาตั้งแต่ต้น มีเพียงเหตุผลเดียว ที่คนควรผ่านดงนี้ คือ ระยะทางสั้นลงกว่าเดิม หากตัดข้ามดงพญาไฟ
  • นี่น่าจะเป็นเหตุผลหลักทางภูมิศาสตร์ ที่ทำให้ ดงพญาไฟ ยังรักษาความเป็นดงผืนใหญ่ได้อย่างยาวนาน กว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะวิถีภูมิศาสตร์ เป็นป่าได้โดยไม่ฝืน เพราะวิถีพื้นที่ ไม่ควรเดินผ่านอยู่แล้ว มีทางเดิน (ถึงแม้จะอ้อม) แต่ก็สบายกว่าเยอะ

เพิ่มเติม : สืบเส้นทางเกวียนโบราณ จากศาสตร์ ภูมินาม-ภูมิสารสนเทศ

◦ ด่านสำหรับสัญจรหลายช่องทาง เช่น ช่องสำราญ ช่องตานุด ช่องตะพานหินหรือช่องสระผม ช่องเขาน้อยหรือช่องเหวตาบัว เป็นเส้นทางโบราณ

ภาพจินตนาการ ดงพญาไฟ ในยามค่ำคืน

ภูมิประเทศ 3 มิติ ครอบคลุมพื้นที่ดงพญาไฟ

ผลการวิเคราะห์โครงข่ายเส้นทางเกวียนในอดีต จากเทคนิคภูมิสารสนเทศ (GIS) ซึ่งผมเคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าเกวียนก็ไม่อยากจะเดินทางผ่านเวิ้ง ดงพญาไฟ

โครงข่ายเส้นทางข้ามคาบสมุทร ซึ่งผมเคยวิเคราะห์และนำเสนอไว้ก่อนหน้านี้ ตามหาอ่านได้ครับ จากภาพเส้นทางยังล้อมดงพญาไฟไว้กลางพื้นที่เช่นเดิม ไม่คิดจะตัดผ่าน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่คำนวณไม่ได้กลัวป่า หรือรู้จักดงพญาไฟ แต่เลือกหนีห่างเส้นทางนี้เพราะเหตุผลทางภูมิประเทศ

ผลการวิเคราะห์เส้นทางเดินทัพเจ้าอนุวงศ์ แห่งลาว รายละเอียดการเดินทาง เดี๋ยวเขียนมาให้ในภายหลังนะครับเอาข้อมูลไปดูก่อน

อันนี้ผลการวิเคราะห์เส้นทางที่เหมาะสมจากจังหวัดในปัจจุบัน สู่อีกจังหวัด จะเห็นว่าถ้าเลือกได้ ไม่เอาถนนที่มีอยู่แล้วมาเป็นที่ตั้ง การเดินทางในแต่ละจังหวัดก็ไม่ได้หวังที่จะตัดข้ามดงพยาไฟ จุดสีแดง คือ ตำแหน่งจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบัน

แผนที่แสดงภาพรวมความหนาแน่น ของเส้นทางจากโครงงานวิจัยต่างๆ ที่กล่าวมาในข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่พิจารณาถนนในปัจจุบันเป็นที่ตั้ง เส้นทางที่เหมาะสมก็ไม่คิดจะตัดข้ามดงพญาไฟเป็นทุนอยู่แล้ว นี่จึงเป็นสาเหตุทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ดงพญาไฟสามารถ ครองความเป็นดง มาอย่างยาวนาน จวบจนกระทั่งความต้องการที่อยากจะย่อย่นระยะทางให้สั้นลงเท่านั้น จึงมีความพยายามที่จะตัดถนนให้ข้ามผ่านดงพญาไฟให้ได้ ซึ่งก็คือ ถนนมิตรภาพ ในปัจจุบัน

สังเกตดูชื่อสถานีรถไฟแถบนี้แต่ละชื่อสิ แก่งคอย กลางดง พญาเย็น ปางอโศก ผาเสด็จ บันไดม้า คือบ่งบอกเลยว่าคงอยู่กลางป่าดงดิบเลยในสมัยนั้น

เพราะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงชัน
โดยเฉพาะบริเวณบ้านกลางดง มวกเหล็ก ค่ายลูกเสือเพชรรัตน์ มาบกระเบา ทับกวาง จนมาถึงแก่งคอย จึงเป็นที่ราบ
สมัย ร.5 ทำทางรถไฟไปโคราช จึงเป็นการบุกเบิกดงพระยาไฟ

ส่วนทางรถยนต์ ตัดไปทางช่องเขาซับจำปา หินดาด ด่านขุนทด ซึ่งเป็นทางเกวียน ทางเดินทัพโบราณ จากอยุธยาไปโคราช
เพราะมีศิลาจารึกของ ขุนศรีชัยราชมงคลเทพ แม่ทัพสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ยกทัพไปตีเมืองพนมรุ้ง นางรอง ทางนั้น
และบริเวณนั้น ยังมีปราสาทหินอยู่ตามรายทางมายังเมืองเสมา เมืองเก่าที่ อ.สูงเนิน

ดงพญาไฟ น่าจะยาวถึงลพบุรี ฝั่งเขาสมโภชน์ เขาซับแกงไก่ไหมครับ

จากตำแหน่งหมู่บ้านที่มีภูมินามของคำว่า เกวียน โสก กรอก โกรก ฮ่อม ล้อ ทางพลี หลวน ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์โครงข่ายการเชื่อมต่อกันของแต่ละหมู่บ้านด้วยเทคนิค ภูมิสารสนเทศ (GIS) โดยพิจารณาจากข้อมูล ภูมิประเทศ (Digital Elevation Model, DEM) ที่เหมาะสมต่อการเดินทางเป็นหลัก ผลการวิเคราะห์ที่ได้แสดงตามเส้นสีขาวในภาพด้านล่าง ซึ่งแปลความแบบพอเป็นไปได้ว่า น่าจะเป็นเส้นทางที่ใช้สัญจรจากเกวียนสู่เกวียนในอดีต โดยมีรายละเอียดประมาณนี้

แผนที่ประเทศไทยแสดงการกระจายตัวของหมู่บ้านที่มีภูมินามเกี่ยวข้องกับ เกวียน เส้นสีขาวแสดงแบบจำลองโครงข่ายทางเกวียน ที่วิเคราะห์ได้จากเทคนิคภูมิสารสนเทศ และข้อมูลภูมิประเทศในพื้นที่

2) ภาคอีสาน เส้นทางเกรียนส่วนใหญ่จะอยู่เหนือขึ้นไปจากแม่น้ำมูล โดยมีโครงข่ายยึดโยงกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากผลการวิเคราะห์คือ มีเส้นทางสายหลักล้อไปกับลำน้ำมูลในแนวตะวันออก-ตะวันตก และหากเกรียนจากที่ราบสูงอีสาน ต้องการเชื่อมต่อกับที่ราบลุ่มภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย เส้นทางที่เป็นไปได้มี 3 กรณี คือ

  • ช่องเขาพังเหย (ลงมาภาคกลาง) เส้นทางจาก ตำบลโป่งนก ทางตอนเหนือของอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ลงสู่อำเภอภักดีชุมพล ชัยภูมิ โดยอาศัย ช่องเขาพังเหย เป็นร่องหลักในการเดินทาง
  • ช่องสำราญ (ลงมาภาคกลาง) เชื่อมต่อที่ราบสูงอีสานของ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ลงสู่ตำบลลำสนธิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
  • ช่องเขาสายตะกู ช่องเขาตาเมือน  (ลงมาภาคตะวันออก) เป็นช่องหรือเส้นทางหลักที่จะเชื่อมต่อโครงข่ายทางเกวียน ระหว่างที่ราบสูงอีสานสู่ชุมชนต่างๆในเขมร รวมทั้งภาคตะวันออกของไทย

เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลการวิเคราะห์จากคอมพิวเตอร์ ไม่พยายามที่จะเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทางเกวียน จากภาคอีสานสู่ที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยใช้ช่องเส้นทางบริเวณ เขื่อนลำตะคอง หรือ ทางหลวงหมายเลข 2 : ถนนมิตรภาพ ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์นี้ จะไม่ได้อิงหรือยึดเกณฑ์ความหนาแน่นของพื้นที่ป่ามาใช้ในการพิจารณา แต่จาก ความไม่อยากเดิน ในเส้นทางดังกล่าว ก็อาจจะเป็นสาเหตุตั้งต้น ที่ทำให้พื้นที่ ดงพยาเย็น ในปัจจุบัน จึงเป็นป่าทึบในอดีต ดังที่เรียกว่า ดงพญาไฟ พื้นที่ต้องห้ามในตำนาน ที่ไม่มีใครอยากเข้าไปไกลในกาลก่อน

◦ เส้นทางคมนาคมถาวรที่บุกเบิกเข้าไปยังดงพญาเย็นเกิดขึ้นในปี พศศ. ๒๔๓๘ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างทางรถไฟอยุธยา-นครราชสีมา ผ่ากลางดง คนงานจีนอีสาน เจ็บป่วยด้วยไข้มาลาเรียล้มตายเป็นจำนวนมาก

◦ วิศวกรชาวเดนมาร์กที่มาคุมงานก่อสร้าง เค. แอล. เรเบ็ก (K.L.Rebeck) ก็เสียชีวิตที่นี่ด้วย ศพของเขาฝังไว้ที่หน้าสถานีรถไฟมวกเหล็กจนถึงทุกวันนี้

◦ ใช้เวลา ๕ ปี จึงก่อสร้างแล้วเสร็จ ร5 เปิด ๒๑ ธันวาคม ๒๔๔๓ หลังจากนั้นอีก ราว ๔๐ ปี ทางรถยนต์สายแรกที่บุกเบิกผ่านป่าผืนนี้จึงเกิดขึ้นโดย : ศรัณย์ บุญประเสริฐ (ที่มา : สารคดี ฉบับที่ 368 ตุลาคม 2559)

Share: