วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด
แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน ตามสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานต่างๆ ดังแสดงในรูป
1. | _____ | ก. | แมกมาบะซอลต์ (basaltic magma) |
2. | _____ | ข. | สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) |
3. | _____ | ค. | พื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) |
4. | _____ | ง. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision) |
5. | _____ | จ. | แผ่นเปลือกโลกทวีป (continental crust) |
6. | _____ | ฉ. | หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) |
7. | _____ | ช. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) |
8. | _____ | ซ. | การยกลอยตัวของแมกมาในเนื้อโลก (upwelling mantle) |
9. | _____ | ฌ. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision) |
10. | _____ | ญ. | แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc) |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด
1. | _____ | เส้นผ่านศูนย์กลางและพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากกระบวนการพื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) |
2. | _____ | แผ่นเปลือกโลกทวีปมีแร่องค์ประกอบโดยรวมคล้ายกับหินแกรนิต ในขณะที่แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรคล้ายกับหินบะซอลต์ |
3. | _____ | แผ่นเปลือกโลกทวีปมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร |
4. | _____ | นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในโลกจากข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) |
5. | _____ | หมู่เกาะฮาวายเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นอเมริกาเหนือบนจุดร้อน (hot spot) ซึ่งอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลก เหมือนกับอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน |
6. | _____ | เทือกเขาแอนดีส คือตัวอย่างการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นนัซกาและแผ่นอเมริกาใต้ |
7. | _____ | เมื่อแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนกับแผ่นเปลือกโลกทวีป แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรจะมุดลงใต้แผ่นเปลือกโลกทวีปเสมอ |
8. | _____ | นักวิทยาศาสตร์ใช้จุดร้อน (hot spot) เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแต่ละแผ่น โดยการกำหนดอายุและตรวจวัดระยะทางระหว่างภูเขาใต้ทะเล (seamount) |
9. | _____ | ทะเลแดง (Red Sea) เกิดจากกระบวนการชนกันของแผ่นแอฟริกาในปัจจุบัน |
10. | _____ | ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือ แขนส่วนที่หยุดการพัฒนาแอ่งรอยเลื่อนปกติ (aulacogen) เนื่องจากเคลื่อนที่ออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก |
11. | _____ | หินที่มีอายุแก่ที่สุดในโลกสามารถพบได้ในมหาสมุทร |
12. | _____ | ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศญี่ปุ่นคือส่วนของหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) |
13. | _____ | แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) เป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมวิทยาศาสตร์ นับตั้งแต่อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอในปี พ.ศ. 2455 |
14. | _____ | การเกิดเทือกเขาหิมาลัยคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นแอฟริกาและแผ่นยูเรเซีย |
15. | _____ | รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกาคือตัวอย่างแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน (transform movement) |
16. | _____ | การปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) |
17. | _____ | ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนทฤษฏีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) |
18. | _____ | ทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกคงที่ตลอดเวลา |
19. | _____ | ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามขอบแผ่นเปลือกโลก และเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้กำหนดขอบเขตแผ่นเปลือกโลก |
20. | _____ | เทือกเขาที่เกิดขึ้นบนโลก เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานรูปแบบเดียวกัน |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้
1. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานสนับสนุนแนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift)
ก. | แรงโน้มถ่วงของโลก | ข. | ฟอสซิลพืชและสัตว์ | |
ค. | สนามแม่เหล็กโลก | ง. | รูปร่างทวีป |
2. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีพื้นทวีปแผ่กว้าง (sea-floor spreading)
ก. | ความหนาของตะกอนมหาสมุทร | ข. | รูปร่างทวีป | |
ค. | การกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก | ง. | แนวคิดขั้วโลกเปลี่ยนตำแหน่ง |
3. รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา คือตัวอย่างขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
4. สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือตัวอย่างขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
5. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบได้ในบริเวณแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป
ก. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) | ข. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | |
ค. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | ง. | ถูกทุกข้อ |
6. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดทำให้เกิดทะเลประเทศญี่ปุ่น (Japan Sea)
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | ถูกทุกข้อ |
7. ข้อใด ไม่สัมพันธ์ กับ มหาทวีป (supercontinent) ซึ่งต่อมาเคลื่อนที่ออกจากกัน
ก. | กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) | ข. | พันเจีย (Pangaea) | |
ค. | ทีทีส (Tethys) | ง. | ลอเรเซีย (Laurasia) |
8. พื้นที่ใดคือตัวอย่าง จุดร้อน (hot spot) ในทางธรณีแปรสัณฐาน
ก. | ประเทศญี่ปุ่น | ข. | ประเทศเปรูและประเทศชิลี | |
ค. | หมู่เกาะฮาวาย | ง. | เทือกเขาหิมาลัย |
9. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร 2 แผ่น
ก. | ประเทศญี่ปุ่น | ข. | ประเทศเปรูและประเทศชิลี | |
ค. | หมู่เกาะฮาวาย | ง. | เทือกเขาหิมาลัย |
10. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร
ก. | ประเทศญี่ปุ่น | ข. | ประเทศเปรูและประเทศชิลี | |
ค. | หมู่เกาะฮาวาย | ง. | เทือกเขาหิมาลัย |
11. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป 2 แผ่น
ก. | ประเทศญี่ปุ่น | ข. | ประเทศเปรูและประเทศชิลี | |
ค. | หมู่เกาะฮาวาย | ง. | เทือกเขาหิมาลัย |
12. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการเคลื่อนที่ออกจากันของแผ่นเปลือกโลก (ระยะที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศแต่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟและแผ่นดินไหว)
ก. | เยลโลว์สโตน (Yellow Stone) | ข. | ทะเลแดง (Red Sea) | |
ค. | ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) | ง. | เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) |
13. พื้นที่ใดคือตัวอย่างการเคลื่อนที่ออกจากันของแผ่นเปลือกโลก (ระยะที่เริ่มมีน้ำทะเลรุกล้ำและมีการสร้างแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร)
ก. | เยลโลว์สโตน (Yellow Stone) | ข. | ทะเลแดง (Red Sea) | |
ค. | ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) | ง. | เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) |
14. ลักษณะการปริแตกของแผ่นเปลือกโลก จากการแทรกดันของแมกมาเป็นแบบใด
ก. | ปริแตกและแยกเป็น 2 ฝั่ง | ข. | แผ่นดินบริเวณนั้นแตกละเอียด | |
ค. | หลอมละลายอย่างช้าๆ และแยกออกจากัน | ง. | แยกออกเป็น 3 แฉกเหมือนกับตรารถเบนซ์ |
15. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป
ก. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) | ข. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | |
ค. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | ง. | แนวตะเข็บธรณี (suture zone) |
16. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ที่ใช้วิเคราะห์ละติจูดของพื้นที่ในอดีต
ก. | มุมเอียง (inclination) | ข. | มุมเยื้อง (declination) | |
ค. | ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) | ง. | พายุสุริยะ (Solar wind) |
17. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ที่ใช้วิเคราะห์การหมุนของพื้นที่ในอดีต
ก. | มุมเอียง (inclination) | ข. | มุมเยื้อง (declination) | |
ค. | ฟลักซ์แม่เหล็ก (magnetic flux) | ง. | พายุสุริยะ (Solar wind) |
18. แนวภูเขาไฟพื้นที่ใด ไม่สัมพันธ์ กับขอบแผ่นเปลือกโลก
ก. | ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก แอฟริกาตะวันออก | ข. | ประเทศญี่ปุ่น | |
ค. | หมู่เกาะฮาวาย | ง. | ประเทศไอซ์แลนด์ |
19. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ตั้งชื่อมหาทวีปที่อยู่ทางซีกโลกเหนือว่าอะไร
ก. | พันเจีย (Pangaea) | ข. | ลอเรเซีย (Laurasia) | |
ค. | กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) | ง. | กลอสซอพเทอริส (Glossopteris) |
20. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ตั้งชื่อมหาทวีปที่อยู่ทางซีกโลกใต้ว่าอะไร
ก. | พันเจีย (Pangaea) | ข. | ลอเรเซีย (Laurasia) | |
ค. | กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) | ง. | กลอสซอพเทอริส (Glossopteris) |
21. มหาทวีปขนาดใหญ่ที่เคยมีอยู่เมื่อประมาณ 225 ล้านปี ที่ผ่านมา มีชื่อว่าอะไร
ก. | พันเจีย (Pangaea) | ข. | ลอเรเซีย (Laurasia) | |
ค. | กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) | ง. | กลอสซอพเทอริส (Glossopteris) |
22. แผ่นเปลือกโลก (crust) อยู่ในส่วนใดของโลก
ก. | ฐานธรณีภาค (asthenosphere) | ข. | เนื้อโลก (mantle) | |
ค. | ธรณีภาค (lithosphere) | ง. | แกนโลก (core) |
23. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สมมุติฐานไวน์-แมททิว-มอร์เลย์ (Vine-Matthews-Morley) อธิบายเกี่ยวกับอะไร
ก. | การเคลื่อนตำแหน่งของขั้วโลก (polar wandering) | ข. | ค่าผิดปกติของสนามแม่เหล็ก (magnetic anomaly) | |
ค. | แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
24. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร
ก. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) | ข. | ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) | |
ค. | จุดร้อน (hot spot) | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
25. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิด แอ่งรอยเลื่อนปกติ (aulacogen)
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | ถูกทุกข้อ |
26. อายุของของพื้นมหาสมุทร โดยปกติจะอ่อนว่าพื้นทวีปเนื่องจากสาเหตุใด
ก. | มหาสมุทรเกิดใหม่บริเวณสันเขากลางมหาสมุทร | ข. | มหาสมุทรถูกทำลายบริเวณเขตมุดตัว | |
ค. | ข้อ ก. และ ข. ถูก | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
27. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 20 มิลลิเมตร/ปี เมื่อเวลาผ่านไป 1 ล้านปี แผ่นเปลือกโลกจะเคลื่อนที่ไกลเท่าใด
ก. | 2,000 กิโลเมตร | ข. | 20 กิโลเมตร | |
ค. | 20 เซนติเมตร | ง. | 20 เมตร |
28. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | การเคลื่อนที่ออกจากกัน | ข. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป | |
ค. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร | ง. | แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป |
29. ข้อใดแสดงถึงหลักฐานการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ก. | การเหลื่อมของหินตามแนวรอยเลื่อน | ข. | อายุหินบะซอลต์ที่แตกต่างกันบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร | |
ค. | อายุของหมู่เกาะฮาวาย | ง. | ถูกทุกข้อ |
30. พื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) โดยทั่วไปมีอัตราการแผ่กว้างประมาณเท่าใด
ก. | 0.1-1 เซนติเมตร/ปี | ข. | 1-24 เซนติเมตร/ปี | |
ค. | 100-1000 เซนติเมตร/ปี | ง. | 10-100 เมตร/ปี |
31. พื้นที่ใดแสดงสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบ triple junction
ก. | เทือกเขาแอนดีส | ข. | สุมาตรา-อันดามัน | |
ค. | ทะเลจีนใต้ | ง. | แอฟริกา |
32. เหตุใดแนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) ของ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) จึงถูกปฏิเสธในช่วงแรก
ก. | ภาษาอังกฤษแย่มากจนไม่สามารถเข้าใจได้ | ข. | แนวชายฝั่งไม่ฟิตเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง | |
ค. | ไม่สามารถอธิบายกลไกการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกได้ | ง. | หลักฐานยืนยันการมีอยู่จริงของมหาทวีปไม่หนักแน่น |
33. หมู่เกาะฮาวาย เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
34. แผ่นเปลือกโลกทวีป (continental crust) มีองค์ประกอบโดยรวมของหินคล้ายกับหินชนิดใด
ก. | หินบะซอลต์ (basalt) | ข. | หินแกรบโบ (gabbro) | |
ค. | หินแกรนิต (granite) | ง. | หินไดโอไรท์ (diorite) |
35. ข้อใดคือคุณสมบัติของ แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic crust)
ก. | หนาประมาณ 33-45 กิโลเมตร | ข. | องค์ประกอบคล้ายหินแกรนิต | |
ค. | บางมากที่สุดบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร | ง. | ความหนาแน่นน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลกทวีป |
36. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิด รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ตอนกลางของประเทศพม่า
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | ถูกทุกข้อ |
37. ใครคือผู้ค้นพบและนำเสนอ แนวคิดพื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading)
ก. | ทูโซ วิลสัน (Wilson T) | ข. | แฮรีย์ เฮส (Hess H) | |
ค. | อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) | ง. | เดวิท ทอยท์ (Toit D) |
38. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือตัวอย่างของขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
39. แผ่นเปลือกโลก (crust) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก. | แกนโลกและเนื้อโลกตอนล่าง | ข. | ธรณีภาคและเนื้อโลกตอนบน | |
ค. | เนื้อโลกตอนล่างและธรณีภาค | ง. | เนื้อโลกตอนบนและตอนล่าง |
40. เทือกเขาใดคือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป
ก. | เทือกเขาแอนดีส (Andes) | ข. | เทือกเขาแอปพาเลเชียน (Appalachian) | |
ค. | เทือกเขาร็อคกี้ (Rockies) | ง. | เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) |
41. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทำให้เกิดบริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร
ก. | สันเขากลางมหาสมุทร | ข. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ | |
ค. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป | ง. | แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป |
42. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่มีอายุแก่ที่สุดอยู่ในพื้นที่ใด
ก. | ขอบมหาสมุทรใกล้ทวีป | ข. | สันเขากลางมหาสมุทร | |
ค. | ตามแนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป | ง. | กระจายอยู่ได้ทุกพื้นที่ |
43. ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | ถูกทุกข้อ |
44. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ triple junction ในทางธรณีแปรสัณฐาน
ก. | แผ่นเปลือกโลกที่มีหินแตกต่างกัน 3 ชนิด คือ หินตะกอน หินอัคนีและหินแปร | ข. | แผ่นเปลือกโลกที่มีการเกิดภูเขาไฟทั้ง 3 ชนิด คือ ภูเขาไฟรูปโล่ ภูเขาไฟกรวยกรวด และภูเขาไฟสลับชั้น | |
ค. | แผ่นเปลือกโลกที่ถูกแยกออกเป็น 3 แผ่น | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
45. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรประกอบชุดหินที่เรียกว่าอะไร
ก. | มิลานโควิทช์ (Milakovitch) | ข. | เมอร์คัลลี่ (Mercalli) | |
ค. | โบเวน (Bowen Series) | ง. | โอฟิโอไลต์ (ophiolite suite) |
46. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของ รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) ที่เกิดขึ้นบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
ก. | เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น | ข. | เป็นแหล่งแร่หายากที่สำคัญ | |
ค. | มีกิจกรรมทางภูเขาไฟ | ง. | ถูกทุกข้อ |
47. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด ไม่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟ
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
48. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบที่พบในตะกอนบริเวณพื้นมหาสมุทร
ก. | ซากสิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบของซิลิกา | ข. | ซากสิ่งมีชีวิตที่มีองค์ประกอบของแคลไซต์ | |
ค. | ลาวาบะซอลต์รูปหมอน | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
49. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใด
ก. | 2-3 เมตร/ปี | ข. | 2-3 เซนติเมตร/ปี | |
ค. | 2-3 มิลลิเมตร/ปี | ง. | 2-3 มิลลิเมตร/วัน |
50. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกโดยส่วนใหญ่เกิดรอยเลื่อน (fault) ชนิดใด
ก. | รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) | ข. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) | |
ค. | รอยเลื่อนปกติ (normal fault) | ง. | รอยเลื่อนเฉียง (oblique fault) |
51. ข้อใดเรียงลำดับชุดหินโอฟิโอไลต์ (ophiolite suite) จากบนไปล่างได้ถูกต้อง
ก. | ตะกอนไม่แข็งตัว บะซอลต์ แกรบโบและเพอริโดไทต์ | ข. | ตะกอนไม่แข็งตัว บะซอลต์ เพอริโดไทต์และแกรบโบ | |
ค. | ตะกอนไม่แข็งตัว แกรบโบ เพอริโดไทต์และบะซอลต์ | ง. | บะซอลต์ ตะกอนไม่แข็งตัว แกรบโบและเพอริโดไทต์ |
52. ข้อใดคือลักษณะที่พบได้ในบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge)
ก. | หินเก่าแก่มาก | ข. | หินอายุอ่อนมาก | |
ค. | ชั้นตะกอนปิดทับหินหนามาก | ง. | รอยเลื่อนย้อน |
53. ภูเขาไฟที่เกิดขึ้นใกล้เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมีกลไกการเกิดอย่างไร
ก. | แรงบีบอัดทำให้หินร้อนและหลอมละลายกลายเป็นแมกมา | ข. | แรงดึงทำให้เกิดรอยแตกซึ่งแมกมาแทรกดันขึ้นมาได้ | |
ค. | แผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไปด้านใต้เกิดการหลอมละลาย | ง. | ไม่มีข้อใดถูก |
54. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับแมกมาที่ทำให้เกิดหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc)
ก. | เกิดจากกระเปาะแมกมาที่มาจากแกนโลกชั้นนอก | ข. | เกิดจากการหลอมละลายบางส่วนของแผ่นเปลือกโลกที่มุดลงไป | |
ค. | ไหลหลากครอบคลุมพื้นที่ | ง. | แทรกดันตามรอยเลื่อนแนวระดับ |
55. ข้อมูลใดที่ช่วยอธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ก. | แนวภูเขาไฟที่เกิดจากจุดร้อน | ข. | การกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก | |
ค. | การกระจายตัวของอายุตะกอนในมหาสมุทร | ง. | ความหนาของชั้นตะกอนในมหาสมุทร |
56. นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) เพื่ออธิบายอะไรของโลก
ก. | ภูมิศาสตร์บรรพกาล | ข. | ภูมิอากาศบรรพกาล | |
ค. | ตำแหน่งของสนามแม่เหล็กโลกในอดีต | ง. | การกระจายตัวของแหล่งแร่เหล็ก |
57. หมู่เกาะฮาวาย เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision) | ข. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision) | |
ค. | จุดร้อน (hot spot) | ง. | ผ่านกัน (transform) |
58. แอ่งตะกอนหลังหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (back-arc basin) สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | ผ่านกัน (transform) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
59. ธรณีภาค (lithosphere)
ก. | มีความหนาในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันน้อย | ข. | ประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก และเนื้อโลกตอนบน | |
ค. | มีความหนาหลากหลายในแต่ละพื้นที่ | ง. | ข้อ ข. และ ค. ถูก |
60. ข้อใดคือกระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย
ก. | ลิ่มตะกอนพอกพูน (accretionary wedge) | ข. | แอ่งตะกอนหน้าหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (forearc basin) | |
ค. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
61. ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบใดที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟน้อยที่สุด
ก. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก | ข. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ | |
ค. | สันเขากลางมหาสมุทร | ง. | จุดร้อน |
62. พื้นที่ใดที่มีภูเขาไฟมีพลัง (active volcano)
ก. | แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic island chain) | ข. | ขอบทวีปจลน์ (active continental margin) | |
ค. | สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) | ง. | ถูกทุกข้อ |
63. ข้อใดคือขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร
ก. | ขอบของบ่าทวีป (continental shelf) | ข. | ยอดของสันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) | |
ค. | ชายหาด (shoreline) | ง. | ขอบของหินโผล่ (outcrop) |
64. กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นพื้นที่ใด
ก. | สันเขากลางมหาสมุทร | ข. | รอยเลื่อนตามแนวระดับ | |
ค. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก | ง. | ถูกทุกข้อ |
65. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดบริเวณเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone)
ก. | หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) | ข. | แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc) | |
ค. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | ง. | ถูกทุกข้อ |
66. ในทางธรณีแปรสัณฐาน การศึกษาสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ตัวอย่างหินจากพื้นมหาสมุทร ช่วยแปลความหมายด้านใด
ก. | ละติจูดและลองจิจูด | ข. | ตำแหน่งสัมพัทธ์ | |
ค. | การหมุนของแผ่นเปลือกโลก | ง. | ข้อ ข. และ ค. ถูก |
67. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สันเขาลองจิจูด 90 องศาตะวันออก (Ninety East Ridge) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
68. ในทางธรณีแปรสัณฐาน อ่าวเอเดน (Gulf of Aden) คือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | ออกจากกัน (divergent) | ข. | เข้าหากัน (convergent) | |
ค. | เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) | ง. | จุดร้อน (hot spot) |
69. ข้อใดคือสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดบริเวณ หมู่เกาะเอลูเทียน (Aleutian Islands)
ก. | หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) | ข. | แนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc) | |
ค. | ร่องลึกก้นสมุทร (trench) | ง. | ข้อ ก. และ ค. ถูก |
70. เทือกเขาแอลป์ (Alps) เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐานแบบใด
ก. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic-oceanic collision) | ข. | แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision) | |
ค. | แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (continent-continent collision) | ง. | ผ่านกัน (transform) |
เฉลยแบบฝึกหัด
1) แบบฝึกหัดจับคู่
1. | ฉ | 2. | ฌ | 3. | ค | 4. | ข | 5. | ง | ||||
6. | ญ | 7. | จ | 8. | ช | 9. | ก | 10. | ซ |
2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด
1. | F | 2. | T | 3. | F | 4. | F | 5. | F | ||||
6. | T | 7. | T | 8. | T | 9. | F | 10. | T | ||||
11. | F | 12. | T | 13. | F | 14. | F | 15. | T | ||||
16. | F | 17. | T | 18. | F | 19. | T | 20. | F |
3) แบบฝึกหัดปรนัย
1. | ก | 2. | ข | 3. | ง | 4. | ก | 5. | ค | ||||
6. | ข | 7. | ค | 8. | ค | 9. | ก | 10. | ข | ||||
11. | ง | 12. | ก | 13. | ข | 14. | ง | 15. | ง | ||||
16. | ก | 17. | ข | 18. | ค | 19. | ข | 20. | ค | ||||
21. | ก | 22. | ค | 23. | ข | 24. | ง | 25. | ก | ||||
26. | ค | 27. | ข | 28. | ก | 29. | ง | 30. | ข | ||||
31. | ง | 32. | ค | 33. | ง | 34. | ค | 35. | ค | ||||
36. | ค | 37. | ข | 38. | ก | 39. | ข | 40. | ง | ||||
41. | ค | 42. | ก | 43. | ก | 44. | ค | 45. | ง | ||||
46. | ก | 47. | ค | 48. | ค | 49. | ข | 50. | ก | ||||
51. | ก | 52. | ข | 53. | ค | 54. | ข | 55. | ก | ||||
56. | ก | 57. | ค | 58. | ข | 59. | ง | 60. | ก | ||||
61. | ข | 62. | ง | 63. | ก | 64. | ค | 65. | ง | ||||
66. | ง | 67. | ง | 68. | ก | 69. | ง | 70. | ค |
4) แบบฝึกหัดอัตนัย
คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์
1. อธิบายแนวคิดของ ทฤษฎีธรณีแอ่นตัว (geosyncline) และเหตุใดจึงไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
2. ธรณีภาค (lithosphere) และ ฐานธรณีภาค (asthenosphere) มีความแตกต่างทางคุณสมบัติอย่างไรและแยกกันได้อย่างไร
3. อธิบายกลไกการทำงานของ กระแสพาความร้อน (convection current) และการประยุกต์ใช้กับการอธิบายทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic)
4. แผ่นดินไหวที่เกิดตามแนวแยกตัวของแผ่นเปลือกโลกหรือ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) เกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นการเลื่อนตัวแบบใด
5. หลักฐานสนับสนุน แนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) มีอะไรบ้าง และเหตุใดจึงยังไม่ถูกยอมรับในช่วงแรก
6. นักวิทยาศาสตร์แยกแผ่นเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ จากหลักฐานอะไร
7. อธิบายหลักการของการ เคลื่อนตำแหน่งของขั้วโลก (polar wandering)
8. อธิบาย สมมุติฐานไวน์-แมททิว-มอร์เลย์ (Vine-Matthews-Morley) ในมุมมองของธรณีแปรสัณฐาน
9. อธิบายหลักการกักเก็บสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกในหิน และการประยุกต์ใช้ทางธรณีแปรสัณฐานและ การกำหนดอายุทางธรณีวิทยา (geochronology)
10. ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ประเมินทิศทางและอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นแปซิฟิกได้อย่างไร
. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth