เรียนรู้

ภัยพิบัติน้ำท่วม และการบรรเทา

น้ำท่วม (flood) หมายถึง ภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำพื้นผิวมีปริมาณเกินกว่าทีร่องน้ำจะรองรับได้ ทำให้น้ำเอ่อล้นออกจากร่องน้ำ สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยภัยพิบัติน้ำท่วมนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และส่งผลต่อแตกต่างกัน ได้แก่

1) น้ำท่วมจาก พายุฝนฟ้าคะนอง (thunder storm) ทำให้เกิดน้ำหลากจากต้นน้ำลงมาอย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่า น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) แต่จะท่วมเพียง 2-3 ชั่วโมง และจะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งน้ำท่วมรูปแบบนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตโดยส่วนใหญ่

2) น้ำท่วมจากฝนตกตลอดทั้งวัน ทำให้เกิด น้ำท่วมขังในท้องถิ่น (local flood) แต่จะท่วมนานเป็นสัปดาห์ และลดลงอย่างช้าๆ

ภัยพิบัติน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2554

3) น้ำท่วมจาก คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) เกิดจากพายุในทะเลและหอบมวลน้ำขึ้นมาไหลหลากบนพื้นที่ใกล้ชายฝั่ง

4) สาเหตุอื่นๆ เช่น 4.1) การถล่มของก้อนน้ำแข็งและปิดกั้นธารน้ำ (glacier-jam flood) ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง 4.2) การพังทลายของเศษตะกอนที่เคยกั้นน้ำด้านบนเอาไว้ หรือ 4.3) การก่อสร้างขวางธารน้ำไหล เป็นต้น

รูปแบบภัยพิบัติที่มักเกิดร่วมกับน้ำท่วม ตามลำน้ำช่วงต่างๆ (1-2) ภัยพิบัติเศษหินไหลหลาก (debris flow) ที่มักเกิดขึ้นในช่วงต้นน้ำ บริเวณที่ร่องน้ำไหลออกจากหุบเขาสู่ที่ราบ (3) น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) บริเวณจากหน้าเขาจนถึงที่ราบตอนกลางของพื้นที่ (4) การตัดสองร่องน้ำดินตลิ่งที่มักเกิดขึ้นบริเวณกลางน้ำโดยเฉพาะพื้นที่คันน้ำคงสวัสดิ์ห้าน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นบริเวณกลางน้ำบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงและหก ภัยพิบัติ (ย่อม) ความสกปรกบริเวณชายหาดซึ่งมักเกิดบริเวณแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลความสกปรกบริเวณชายหาดซึ่งมักเกิดบริเวณที่แม่น้ำไหลลงสู่ทะเล

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ประเมินภัยพิบัติน้ำท่วมโดยนิยมใช้ตัวบ่งชี้ 2 ตัวแปร คือ 1) ไฮโดรกราฟ (hydrograph) และ 2) ความถี่น้ำท่วม (flood frequency)

ไฮโดรกราฟ กราฟพฤติกรรม น้ำท่วม

ไฮโดรกราฟ (hydrograph) หมายถึง กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (stream discharge) ในแต่ละช่วงเวลาซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1) ส่วนขึ้น (rising limb) ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตก ระยะเวลาที่ฝนตก รวมทั้งความสามารถในการรับน้ำของธารน้ำซึ่งสัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่รับน้ำ ความลาดชันของพื้นที่รับน้ำ ประสิทธิภาพการระบายน้ำของพื้นที่รับน้ำ ตลอดจนความชื้นของดินในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นหากฝนตกหนักหรือธารน้ำแคบ สิ่งกีดขวางมากจะทำให้ส่วนขึ้นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น แต่หากมีพื้นที่รับน้ำมาก ไม่มีสิ่งกีดขวางมากนัก ส่วนขึ้นจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ

ไฮโดรกราฟ (hydrograph) (ซ้าย) ชนบท (ขวา) ชุมชนเมือง

2) ส่วนยอด (peak) แสดงถึงจุดสูงที่สุดของน้ำ ซึ่งยอดจะแหลมหรือป้านขึ้นอยู่กับลักษณะของร่องน้ำ โดยหากน้ำไหลในปริมาณเท่ากัน ร่องน้ำที่มีพืชคลุมดินมากจะดูดซับน้ำได้บางส่วน ทำให้ส่วนยอดนั้นไม่สูงมากนัก  ในขณะที่ร่องน้ำที่ถูกกีดขวางหรือพื้นที่ไม่มีป่าไม้ปกคลุม ส่วนยอดจะสูงกว่าปกติ เช่น ไฮโดรกราฟในสภาวะร่องน้ำแบบปกติจะมีลักษณะเป็นยอดป้านและเตี้ย แปลความหมายได้ว่าน้ำไหลผ่านพื้นที่แบบค่อยเป็นค่อยไป  มากกว่าร่องน้ำที่มีชุมชนเมืองขยายตัว มีการจำกัดร่องน้ำ ทำให้เวลาฝนตก น้ำจะมีระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงกว่าร่องน้ำปกติ   เหมือนกับการไหลของน้ำแบบ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood)

3) ส่วนลด (recession) แสดงถึงประสิทธิภาพการระบายน้ำ ซึ่งหากส่วนลดมีความชันสูงแสดงว่าร่องน้ำนั้นมีศักยภาพการระบายน้ำดีกว่าร่องน้ำที่มีความชันของส่วนลดต่ำ

ลักษณะน้ำท่วมในพื้นที่ (ซ้าย) ชนบท (ขวา) ชุมชนเมือง

การวิเคราะห์ความถี่น้ำท่วม

จากข้อมูลน้ำท่วมในอดีตในหลายพื้นที่ทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าน้ำท่วมขนาดใหญ่ (ความรุนแรงสูง) จะมี คาบอุบัติซ้ำ (return period) ยาวนานกว่าน้ำท่วมขนาดเล็ก (ความรุนแรงต่ำ) ดังนั้นการประเมินภัยพิบัติน้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ จึงสามารถแสดงได้ในรูปของ กราฟความถี่น้ำท่วม (flooding frequency curve) ซึ่งเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดหรือระดับความรุนแรงของภัยพิบัติน้ำท่วม (แกนตั้ง) และความถี่หรือคาบอุบัติซ้ำของการเกิดน้ำท่วม (แกนนอน) ซึ่งในแต่ละพื้นที่รับน้ำหรือในแต่ละธารน้ำจะมีกราฟความถี่น้ำท่วมที่แตกต่างกันแสดงถึงระดับภัยพิบัติน้ำท่วมที่แตกต่างกัน

วิธีการคำนวณเริ่มจากการบันทึก อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (stream discharge) สูงที่สุด ในแต่ละปี หลังจากนั้นจัด ลำดับขนาดการเกิดน้ำท่วม (magnitude rank) จากน้ำท่วมสูงที่สุดไปถึงน้ำท่วมต่ำที่สุด (ตาราง) ซึ่งคาบอุบัติซ้ำโดยเฉลี่ย (R) ของการเกิดน้ำท่วม สามารถประเมินโดยใช้สมการ

R = (N+1)/M

ตัวอย่างการประเมินคาบอุบัติซ้ำโดยเฉลี่ยของการเกิดน้ำท่วมในแม่น้ำของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปีน้ำท่วม (ค.ศ.) อัตราน้ำไหลในธารน้ำ (stream discharge) สูงที่สุด ลำดับขนาด (magnitude rank) คาบอุบัติซ้ำ (ปี)
1997 93,000 1 100
1907 71,000 2 50
1986 45,100 3 33
1956 42,000 4 25
1963 39,400 5 20
1958 29,300 10 10
1928 22,900 20 5
1914 18,200 30 3
1918 11,900 40 2.5
1910 9,640 50 2
1934 7,170 60 1.7
ตัวอย่างกราฟความถี่น้ำท่วม (www.carleton.edu)

กำหนดให้ N คือ ช่วงเวลาที่มีการบันทึกภัยพิบัติน้ำท่วม และ M คือ ลำดับขนาดการเกิดน้ำท่วม (magnitude rank) นอกจากนี้ยังสามารถประเมินความน่าจะเป็น (probability, P) ของการเกิดน้ำท่วมในแต่ละขนาดได้ตามสมการ

P = 1/R

การบรรเทาภัยพิบัติน้ำท่วม (Flood Mitigation)

การบรรเทาภัยพิบัติน้ำท่วม (Flood Mitigation) หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกิดน้ำท่วม เพื่อให้พื้นที่ใดๆ สามารถรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1) การสร้างสิ่งป้องกันทางกายภาพ (physical barrier) เช่น การสร้าง คันดินเทียม (artificial levee) เพื่อไม่ให้น้ำเอ่อล้นร่องน้ำได้ง่าย การสร้าง เขื่อน (dam) เพื่อสะดวกในการบริหารจัดการน้ำ แต่ทั้ง 2 วิธีนี้ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง อีกทั้งการสร้างคันดินเทียมนั้นเปรียบเสมือนการทำให้ร่องน้ำกว้างขึ้น ซึ่งจากหลักการทางอุทกศาสตร์ หากอัตราน้ำไหลในธารน้ำคงที่ (Q) เมื่อร่องน้ำกว้างขึ้น (A) น้ำในร่องน้ำจะไหลช้าลง (V) ตะกอนจึงตกทับถมมากกว่าปกติ ทำให้ร่องน้ำตื้นเขินเร็วขึ้น ซึ่งการสร้างเขื่อนก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

การบรรเทาภัยพิบัติน้ำท่วมด้วยสิ่งป้องกันทางกายภาพ

2) การขุดลอกร่องน้ำ (channelization) เช่น การกำจัดขยะ การขุดลอกเศษตะกอนท้องน้ำให้ธารน้ำลึกและกว้างขึ้น แต่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศในร่องน้ำและอาจทำให้ร่องน้ำเสียสมดุล เกิดการพังของตลิ่งได้ง่าย

3) การจัดพื้นที่ (zoning and regulation) จัดทำแผนที่เสี่ยงน้ำท่วม เพื่อกำหนดพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง จากนั้นจึงจัดโซนเพื่อกันพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดว่าพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเกิดน้ำท่วมในอีก 100 ปีข้างหน้า สามารถสร้างอาคารหรือที่พักอาศัยได้ แต่ต้องออกแบบตามกฏหมายที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อรองรับภัยพิบัติน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่พื้นที่ซึ่งมีโอกาสเกิดน้ำท่วมภายใน 20 ปี จะไม่อนุญาตให้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างโดยเด็ดขาด ซึ่งในสภาวะปกติจะใช้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนักหากเกิดน้ำท่วม เช่น เป็นสนามหญ้าเพื่อการพักผ่อนของชุมชน ลานกีฬาชั่วคราว เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการกันพื้นที่ส่วนที่เป็น ทะเลสาบรูปแอก (oxbow lake) เพื่อใช้กักเก็บน้ำเมื่อน้ำไหลมามากกว่าปกติ

4) การติดตั้งระบบเตือนภัย (warning system) เช่น การให้ความรู้เรื่องภัยพิบัติน้ำท่วมแก่ชุมชน ติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับน้ำ (gauging station) หรือระบบตรวจวัดปริมาณน้ำฝนที่สะดวกในการใช้งานและบำรุงรักษาง่ายแก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ในแต่ละพื้นที่สามารถเตือนภัยได้ด้วยตัวเอง

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024