เรียนรู้

คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge)

คลื่นพายุซัดฝั่งเรียบเรียง : สิริรักษณ์ บุญเย็น และ สันติ ภัยหลบลี้

คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) หรือที่เรียกกันว่า สตอร์ม เซิร์จ หลายคนเมื่อได้ยินคำนี้แล้วอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก และอาจจะยังไม่รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพายุซัดฝั่งนี้ แต่ถ้าหากบอกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงไม่ต่างจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก สึนามิ (tsunami) แล้ว คงทำให้เป็นที่น่าสนใจมากขึ้นของใครหลายๆคน และมีข้อมูลที่สำคัญที่ระบุไว้ด้วยอีกว่า คลื่นพายุซัดฝั่งนั้นเป็นภัยพิบัติซึ่งถือว่ามีความเสียหายและรุนแรงกว่าสึนามิ เนื่องจากมีปัจจัยของพายุมาเกี่ยวข้องและสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คลื่นพายุซัดฝั่งนั้นก็ยังสามารถป้องกันได้ดีกว่าสึนามิ ด้วยเหตุผลที่ว่ามีระบบสัญญาณเตือนจากพายุเป็นตัวแปรสำคัญ ส่วนสึนามินั้นเป็นภัยธรรมชาติที่ยากต่อการทำนาย และหากเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน หากไม่มีระบบการเตือนภัยที่ทันท่วงทีอาจส่งผลให้มีเวลาไม่เพียงพอต่อการเตรียมตัวสำหรับอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ก็สามารถนำไปสู่ความเสียหายครั้งใหญ่ได้

สภาพจริงของภัยพิบัติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง

คลื่นพายุซัดฝั่ง คืออะไร

คลื่นพายุซัดฝั่ง หรือที่เรียกอีกอย่างว่า น้ำขึ้นหนุนจากพายุ (storm tide) คือคลื่นของมวลน้ำขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากแรงลมของ พายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclone) ที่มีความเร็วลมมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเกิดในมหาสมุทรและเคลื่อนตัวด้วยความเร็วในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับพื้นมหาสมุทร คือมีการเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณที่ตื้นกว่า ทำให้คลื่นยกตัวสูงขึ้นกลายเป็นคลื่นขนาดใหญ่และพัดเข้าซัดชายฝั่ง

พายุหมุนเขตร้อนแบ่งตามระดับคววามรุนแรงได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ พายุดีเปรสชัน (depression) พายุโซนร้อน (tropical storm) และ พายุไต้ฝุ่น (typhoon)

อิทธิพลของคลื่นซัดฝั่งที่มีอิทธิพลต่อประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อนที่มีจุดกำเนิดแถบทะเลจีนใต้ โดยมีความเร็วลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป และมักจะเกิดในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ซึ่งก็คือช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม จากจุดกำเนิดพายุดังกล่าว พื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทยต่อการเกิดพายุซัดฝั่งคือบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกฝั่งอ่าวไทย เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดจันทบุรีจังหวัดชลบุรี เป็นต้น

ปกติคลื่นทะเลบริเวณอ่าวไทยนั้นมักจะมีความสูงปานกลาง ซึ่งมีระดับของคลื่นประมาณ 1-2 เมตร แต่ถ้าหากมีพายุเข้ามากระทำร่วมกันกับคลื่น จะทำให้คลื่นมีการยกตัวสูงมากยิ่งขึ้นกลายเป็นคลื่นของมวลน้ำขนาดใหญ่ หากพูดถึงปัจจัยที่ทำให้บริเวณชายฝั่งเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากคลื่นซัดฝั่งก็คือ สภาพพื้นที่ของชายฝั่งนั่นเอง หากชายฝั่งยิ่งมีความลาดชันน้อยและมีความกว้าง จะยิ่งทำให้คลื่นมีพลังในการทำลายล้างชายฝั่งมากยิ่งขึ้น

(ซ้าย) น้ำท่วมจากคลื่นพายุซัดฝั่งรัฐลุยเซียนา เนื่องจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา (ขวา) เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง ซึ่งเกิดจากพายุเฮอริเคนแซนดี้ ซัดเข้าฝั่ง ณ เกาะสแตเทนของนิวยอร์ก จะเห็นได้ว่าท่าเรือได้รับความเสียหายและเรือถูกพัดขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมาก

คลื่นพายุซัดฝั่งต่างกับการเกิดสึนามิอย่างไร

คลื่นพายุซัดฝั่งและสึนามินั้นถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทางทะเลเหมือนกัน แต่ทั้งสองปรากฏการณ์นั้นเกิดด้วยสาเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน คลื่นพายุซัดฝั่งนั้นเกิดจากพายุเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่เข้าซัดชายฝั่ง แต่ในขณะที่สึนามินั้นไม่ได้เกิดจากพายุ สึนามิเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การปะทุของภูเขาไฟหรือแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ในแนวดิ่งใต้ท้องทะเล เป็นต้น

ภาพจำลองการเกิดสึนามิอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศใต้น้ำ

เพิ่มเติม : ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี

ฤดูกาลที่มักเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งในประเทศไทย

ข้อมูลจากจากศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุถึงข้อมูลของช่วงที่มักเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งว่า พายุหมุนเขตร้อนที่มีความแรงในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไปอาจก่อตัวในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างโดยตรง หรืออาจก่อตัวในบริเวณทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลมญวนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามและเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคมซึ่งตรงกับฤดูฝนของประเทศไทย

โดยพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุขัดฝั่งได้มาก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา รวมทั้งภาคตะวันออก คือจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ดังนั้นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นพายุซัดฝั่งควรเตรียมรับมือและเฝ้าระวัง รวมถึงติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพราะหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจะได้อพยพออกจากพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที

โดยพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดคลื่นพายุขัดฝั่งได้มาก ได้แก่ บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา รวมทั้งภาคตะวันออก คือจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ดังนั้นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากคลื่นพายุซัดฝั่งควรเตรียมรับมือและเฝ้าระวัง รวมถึงติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพราะหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจะได้อพยพออกจากพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที

คลื่นพายุซัดฝั่ง ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

  • พายุไต้ฝุ่นไอดา (Ida) เมื่อวันที่ 26 เดือนกันยายน พ.ศ. 2501 พัดเข้าประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในกรุงโตเกียว เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม สร้างความเสียหายต่อประชาชนจำนวนมาก
  • พายุโซนร้อนแฮร์เรียต (Harriet) เกิดช่วงวันที่ 25-26 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2505 มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 กิโลเมตร ก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณชายฝั่งแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างรุนแรง
  • พายุหมุนไซโคลนโบลา (Bhola) ในอ่าวเบงกอล ช่วงวันที่ 12 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ทำลายชายฝั่งบังคลาเทศและอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 500,000 คน
  • พายุไต้ฝุ่นเกย์ (Gay) หรือ พายุไซโคลนกาวาลี (Kavali) เกิดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 พัดถล่มคาบสมุทรมาลายู และสร้างความเสียหายให้กับจังหวัดชุมพของประเทศไทยอย่างรุนแรง
  • พายุไต้ฝุ่นลินดา (Linda) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยก่อตัวในทะเลจีนใต้ตอนล่าง สร้างความเสียหายให้กับประเทศเวียดนามอย่างหนัก เมื่อเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยก็ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำท่วมฉับพลัน เช่น ในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และราชบุรี
  • พายุเฮอร์ริเคนแคทรินา (Katrina) เมื่อวันที่ 29 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ที่รัฐหลุยส์เซียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติก มีผู้ได้รับผลกระทบจากความเสียหายในครั้งนั้นกว่าหนึ่งล้านคนและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
  • พายุหมุนนาร์กีส (Nargis) เกิดระหว่างช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทำลายพื้นที่โดยรอบมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ โดยเฉพาะประเทศพม่า
  • พายุโซนร้อนปาบึก (Pabuk) เมื่อวันที่ 4 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดเป็นพายุโซนร้อนนอกฤดูกาล โดยนักวิชาการนิยามว่าเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ไม่ต่างจากพายุแฮร์เรียตที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ความเสียหายในครั้งนี้ส่งผลให้สายการบินหลายเที่ยวบินถูกยกเลิก ชาวประมงจำนวนมากยุติการเดินเรือรวมถึงมีต้นไม้หักโค่นเป็นจำนวนมาก

การเตรียมรับมือคลื่นพายุซัดฝั่ง

  • สร้างแนวป้องกันชายฝั่ง เช่น ปลูกป่าโกงกาง เพื่อลดแรงกระแทกของคลื่นจากพายุที่ซัดเข้าฝั่ง
  • ให้ความรู้คลื่นพายุซัดฝั่งแก่สาธารณชน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาวประมงหรือนักท่องเที่ยว ให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นรวมถึงวิธีการรับมือและแนวทางปฏิบัติหากเกิดภัยพิบัติ และหมั่นฝึกซ้อมเตรียมการรับมืออยู่เสมอ
  • ติดตามข่าวสารพายุหมุนเขตร้อนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่เสมอ หากสภาพอากาศมีแนวโน้มที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ ให้เตรียมการอพยพคนและสิ่งของออกจากพื้นที่เสี่ยงไปยังที่ปลอดภัย
  • หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เพื่อกำหนดแนวทาง มาตรการ บรรเทาและฟื้นฟูต่อประชาชนและพื้นที่ประสบภัยต่อไป
  • กักตุนสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น น้ำ อาหาร ยาและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือล่วงหน้า
  • เมื่อพายุเข้าควรหลีกเลี่ยงการออกนอกเคหะสถาน ไม่ควรเข้าใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ชายฝั่งทะเล หรือทางระบายน้ำ
  • หากเกิดคลื่นพายุซัดฝั่ง ตั้งสติ หลบอยู่ในพื้นที่มั่นคง รีบวิ่งขึ้นที่สูงที่คาดว่าน้ำไม่สามารถท่วมถึงได้
  • อย่ารีบออกจากพื้นที่หลบภัยจนกว่าจะได้รับข้อมูลว่าสถานการณ์ปลอดภัยดีแล้ว
  • ควรมีเบอร์ติดต่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024