เรียนรู้

โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง

แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง

ธรณีแปรสัณฐาน

แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ซึ่งแตกเป็นแผ่นๆ ลอยอยู่บนส่วนที่เป็นเนื้อโลก (mantle) ที่เคลื่อนตัวไปมาอยู่ใต้โลกตลอดเวลา ตามกระแสพาความร้อน (convection current) ทำให้แผ่นเปลือกโลกต่างๆ เคลื่อนที่ไปคนละทิศคนละทาง เกิดการกระทบกระทั่งกันเหมือนกับรถบั๊มในสวนสนุก ซึ่งหลังจากเฝ้าสังเกตดูอยู่พอประมาณ นักแผ่นดินไหวก็ได้จำแนกรูปแบบการบั๊มกันของแผ่นเปลือกโลกออกเป็น 3 แบบหลักๆ คือ

  • การเคลื่อนที่เข้าชนกัน (convergent movement)
  • การเคลื่อนที่แยกออกจากกัน (divergent movement)
  • การเคลื่อนที่เฉือนผ่านกัน (transform movement)
แผนที่โลกแสดงขอบเขตและการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลก ลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ และความยาวของลูกศรแสดงอัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆ (หน่วย เซนติเมตร/ปี)
แบบจำลองแสดงภาคตัดขวางบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการชนและมุดกันแสดงสภาพแวดล้อมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน 1) เกิดระหว่างขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2) เกิดภายในแผ่นเปลือกโลก และ 3) เกิดบริเวณแผ่นที่มุดลงไปในชั้นเนื้อโลก

ซึ่งแต่ละแบบจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่เหมือนกัน ทั้งในเรื่องความบ่อย ความรุนแรง หรือตำแหน่งที่เกิด แต่โดยภาพรวมแล้วสรุปว่าพื้นที่ที่มักเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งจะอยู่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก เช่น บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกโดยรอบหรือที่รู้จักกันดีในนาม วงแหวนไฟ (Ring of Fire) บริเวณสันกลางมหาสมุทรแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) และบริเวณรอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) แถบรัฐแคลิฟอร์เนีย ภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แผนที่โลกแสดงการกระจายตัวของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (ที่มา : www.wordpress.com)

ภูเขาไฟประทุ

พอจะคุ้นหูกันหรือเปล่าครับว่าภูเขาไฟก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ จากรูปด้านบน ถ้าสังเกตดูให้ดี จะพบว่ามีจุดเล็กๆ แสดงตำแหน่งแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นกลางแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ซึ่งแน่นอนว่านั่นไม่ใช่แผ่นดินไหวที่เกิดจากการขัดสีหรือบั๊มกันตามขอบแผ่นเหมือนอย่างเคยๆ แต่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการประทุของภูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) บนเกาะฮาวาย ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินไหวแบบนี้จะเกิดก่อนการประทุซักประเดี๋ยว และมักเกิดกระจุกตัวใกล้กับตำแหน่งของภูเขาไฟ นักแผ่นดินไหวจึงเชื่อว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นน่าจะมีสาเหตุมาจากความพยายามแทรกดันของแมกมาขึ้นมาตามรอยแตกของหินเพื่อจัดกระบวน เตรียมพร้อมประทุ

แบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการแทรกดันของแมกมา

ุปกติฝรั่งมักเรียกกลุ่มแผ่นดินไหวที่เกิดจากภูเขาไฟว่า “earthquake swarm” ซึ่งขอแปลเป็นไทยให้สื่อตรงๆ ว่า “ฝูงแผ่นดินไหว” ส่วนในเรื่องของนิสัย การเกิดแผ่นดินไหวจากการประทุของภูเขาไฟ จะไม่เหมือนซะทีเดียวกับแผ่นดินไหวที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดจากภูเขาไฟมักจะเกิดเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาอันสั้นในระยะวัน-เดือน โดยที่แผ่นดินไหวจะมีขนาดพอๆ กัน แต่ไม่ใหญ่มากนัก (2.0-5.0) แถมยังชอบออกโรงมาก่อนการประทุ ดังนั้นถ้ามองในแง่ของภัยพิบัติ นักแผ่นดินไหวก็มักหยวนๆ ว่าแผ่นดินไหวที่เกิดจากภูเขาไฟ เป็นเครื่องเตือนภัยการประทุมากกว่า ที่จะสร้างความวิบัติให้กับพวกเราในแง่ของแรงสั่นสะเทือน

(ซ้าย) ภาพจากมุมสูง (ขวา) ภาพตัดขวาง แสดงการกระจายตัวของแผ่นดินไหวแถบภูเขาไฟเซนต์ เฮเลนส์ (St. Helens) จำนวน 13,000 เหตุการณ์ ที่บันทึกได้จากอดีตถึงปี พ.ศ. 2554 (ล่าง) กราฟแผ่นดินไหวซึ่งตรวจวัดได้อย่างหนาแน่นในช่วงเวลาสั้นๆ (ที่มา : www.pnsn.org)

อุกกาบาตโหม่งโลก

แม้จะไม่เคยยืดพื้นที่สื่อได้เลยในปัจจุบัน แต่แหล่งข่าวเก่าๆ หลายแห่งก็ยืนยันตรงกันว่า ในอดีตอุกกาบาตเคยโหม่งโลกมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ลองจินตนาการกันเล่นๆ นะครับว่าถ้าโลกโดนโหม่ง แรงสั่นสะเทือนจะรุนแรงขนาดไหน ยิ่งถ้าปักหัวลงกลางมหาสมุทร สึนามิก็คงไม่สูง 5-10 เมตร แน่ๆ จากข้อมูลที่ยังเหลืออยู่ให้ดูต่างหน้าทำให้เรารู้ว่าอุกกาบาตไม่ได้ร่วงมาเปาะแปะๆ แบบเม็ดฝน มาแต่ละหนนั้นหนักหน่วง และคงสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ดูได้จากสภาพหลุมอุกกาบาตแบร์ริงเจอร์ (Barringer) ในสหรัฐอเมริกา ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 1.2 กิโลเมตร ลึก 175 เมตร ซึ่งเกิดจากการวิ่งโหม่งโลกของอุกกาบาตเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 เมตร เมื่อประมาณ 50,000 ปีที่ผ่านมา

หลุมอุกกาบาตแบร์ริงเจอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา (ที่มา : www.forces.si.edu)

นอกจากนี้การเกิดดินถล่มหรือหลุมยุบก็พอจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนได้ ถ้าถ้ามีขนาดใหญ่และกินพื้นที่กว้างพอ หรือแม้กระทั่งคลื่นทะเลที่ซัดกระทบฝั่ง ถ้ามีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวตั้งอยู่ใกล้ๆ ก็อาจจะตรวจพบสัญญาณของการสั่นสะเทือนได้เหมือนกัน เพียงแต่ความแรงก็คงไม่มากพอที่คนจะรู้สึกได้

ดินถล่มในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (ที่มา : Mark Reid/U.S. Geological Survey)
หลุมยุบ กัวเตมาลา (ที่มา : http://www.chinasmack.com)

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024