เครื่องจับแผ่นดินไหวแรกของโลก กับความคูลของคุณปู่จาง
ย้อนอดีตกลับไปในสมัยราชวงศ์ฮั่น ด้วยความเก่งกล้าสามารถของฮ่องเต้ในยุคนั้น ทำให้ราชวงศ์ฮั่นสามารถรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นแผ่ไพศาลไปเกือบทั่วประเทศจีนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ในพื้นที่ ทำให้อาณาจักรฮั่นเกิดแรงสั่นบ่อยครั้งจากแผ่นดินไหว และประชาชนของฮ่องเต้ก็ได้รับทุกข์เข็ญให้เห็นกันอยู่เนืองๆ ด้วยคอนเซ็ปของฮ่องเต้ที่ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ฮ่องเต้จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆ ต้องส่งข่าวโดยเร็วเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งกรรมก็มาตกลงตรงที่ ม้าเร็วต้องคอยคาบข่าวควบเข้าเมือง อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งช่วงแรกก็โอเคดีตามแรงม้า แต่พอยืนระยะยาวๆ ...
การกัดกร่อนในทะเลทราย
อย่า่งที่รู้กันว่าทะเลทรายเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งและมีสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ดังนั้นกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลทรายจึงสร้างลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจพอสมควร ในส่วนของการกัดกร่อนในทะเลทราย สามารถจำแนกจากปัจจัยของการกัดกร่อนได้ 2 ปัจจัย คือ ลมและน้ำ ซึ่งแต่ละแบบก็มีพฤติกรรมและลักษณะที่เกิดจากการกัดกร่อนที่แตกต่างกันทั้งระหว่างน้ำและลม และที่สำคัญแตกต่างจากการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ของโลก การกัดกร่อนโดยลม นักวิทยาศาสตร์จำแนกรูปแบบการกัดกร่อนและพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) ...
แร่ประกอบหิน
แร่ (mineral) หมายถึง ธาตุ หรือ สารประกอบ ของแข็งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างผลึกคงที่ มีสูตรเคมีแน่นอน และมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีที่เฉพาะตัว เช่น แร่ทองคำ แร่ควอตซ์ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์จำแนกแร่ตามมูลค่าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ...
7 ตัวอย่างการนำค่า b มาศึกษานิสัยการปริแตกบนโลก
จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ดังแสดงในสมการ (1) ( Ishimoto และ Iida, 1939; Gutenberg และ Richter, 1944) ...
มีวิธีไหนบ้างที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้
ธรณีแปรสัณฐาน กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic activity) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานในแต่ละรูปแบบ 1) การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ภูมิประเทศยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา ซึ่งหากภูเขาสูงเกินเส้นแบ่งหิมะ สภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นแบบหนาวเย็นและปกคลุมไปด้วยหิมะ นอกจากนี้การยกตัวของภูเขายังทำให้ความชันของพื้นที่สูงขึ้น อัตราการผุพังสูงขึ้น ทำให้เกิดเศษหินเพิ่มมากขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดต่ำลง ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโดยรวมนั้นเย็นตัวลง เช่น การยกตัวของเทือกเขาหิมาลัยทำให้มหายุคซีโนโซอิกเย็นขึ้น ...
สิ่งที่ภูเขาไฟผุยออกมา ไม่ได้มีลาวาแค่อย่างเดียว
กรวดภูเขาไฟ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาจำแนกกรวดภูเขาไฟตามขนาด ดังแสดงในตารางด้านล่าง ชนิด ขนาด (มม.) ลักษณะเฉพาะ ฝุ่นภูเขาไฟ (dust) < 0.2 ...
โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง
แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ...
6 สภาพแวดล้อม ที่ทำให้หินแข็งๆ แปรสภาพได้
จากลักษณะการแปรสภาพหินประกอบกับลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีแปรสัณฐานที่หินแปรชนิดต่างๆ นั้นถูกพบ นักธรณีวิทยาสามารถจำแนกสภาพแวดล้อมของการแปรสภาพเป็น 6 รูปแบบ 1) แปรจากสารละลายน้ำร้อน การแปรสภาพจากสารละลายน้ำร้อน (hydrothermal metamorphism) พบมากแถบสันเขากลางมหาสมุทร โดยน้ำทะเลไหลแทรกซึมลงไปตามแนวรอยแตกของสันเขากลางมหาสมุทร น้ำได้รับความร้อนจากมวลแมกมาใต้พื้นผิวโลกและทำละลายกับหินในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร เกิดเป็น สารละลายน้ำร้อน (hydrothermal solution) ที่มีไอออนชนิดต่างๆ ...
6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา
หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ...
รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา
ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง ภูมิลักษณ์จากการปะทุ 1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ...
มหายุคซีโนโซอิก – มหายุคแห่งนม
มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) เริ่มต้นเมื่อประมาณ 65 ล้านปี ถึงปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเข้ามาแทนที่สัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปในมหายุคมีโซโซอิก พืชโดยส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีดอก ในทางธรณีแปรสัณฐาน มหายุคซีโนโซอิกเกิด กระบวนการเกิดภูเขา (orogeny) ที่สำคัญ 2 พื้นที่ คือ 1) ...
การคดโค้งโก่งงอของหิน
ชั้นหินคดโค้ง (fold) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินถูกแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานแบบบีบอัด (compressional stress) ทำให้หินเกิดความเครียดแบบหดสั้นลง และเกิดการคดโค้ง โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่เข้าหากัน และเป็นโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดแนวเทือกเขา และเพื่อที่จะจำแนกรูปร่างและการวางตัวของชั้นหินคดโค้งในรายละเอียด นักธรณีวิทยาจึงกำหนดส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของชั้นหินคดโค้งไว้อย่างน้อย 5 ส่วน 1) จุดพับ (hinge ...
ทะเลทรายไม่ได้ร้อนเสมอไป แถมยังเกิดได้หลายแบบ
โลกมี พื้นที่แห้งแล้ง (arid area) กระจายอยู่ทั่วทุกทวีป โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกสภาพแวดล้อมแห้งแล้งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1) ทุ่งหญ้าสเตปป์ (steppe) หมายถึง พื้นที่กึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) ฝนตกโดยเฉลี่ย 25-50 ...
กระบวนการแปรสภาพหิน
การแปรสภาพหิน (metamorphism) หมายถึง กระบวนการฟแปรสภาพ หินเดิม (photolith) ทั้งหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปร ให้กลายเป็น หินแปร (metamorphic rock) ซึ่งมีลักษณะหน้าตาไม่เหมือนเดิม โดยที่หินไม่หลอมละลายและยังคงสัดส่วนของแร่องค์ประกอบคล้ายกับหินเดิม ปัจจัยการแปรสภาพ ปัจจัยที่ทำให้หินแปรสภาพในขณะที่ยังเป็นของแข็งอยู่ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ...
หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน
ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ...
มหายุคพาลีโอโซอิก – เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มรุกขึ้นบก
มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 545-245 ล้านปี คิดเป็นประมาณ 7% ของประวัติศาสตร์โลก สิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยจำกัดอยู่เฉพาะในทะเล เช่น ปะการัง ไครนอยด์ ไทรโลไบต์ ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลาง สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก แมลงและพืชเคลื่อนที่สู่แผ่นดิน เกิดพืช ...
รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน
รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ...
มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์
มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย ...