เรียนรู้

การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม

จากการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า มีไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี (radioactive isotope) หลายชนิดที่สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยที่ทุก ๆ วิธีการการหาอายุด้วยการใช้ ไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีนั้น ใช้หลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับ การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น จะแตกต่างกันก็ตรงที่ วัสดุที่เหมาะสมในการหาอายุหรือวิธีการการคัดแยกแร่และธาตุต่าง ๆ เพื่อนำมาคำนวณการประเมินอัตราการสลายตัวเท่านั้น ซึ่งนอกจาก การหาอายุด้วยวิธีคาร์บอน-14 การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน การหาอายุด้วยวิธียูเรเนียม-ตะกั่ว การหาอายุด้วยวิธีอาร์กอน-อาร์กอน อีกหนึ่งวิธีในการกำหนดอายุจากไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีที่น่าสนใจ คือ การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม (Sr-Rb dating)

ในธรรมชาติ ธาตุรูบิเดียม (Rubidium, Sr) มีปรากฏอยู่ 2 ไอโซโทป คือ 87Rb และ 85Rb ซึ่งในกรณี 85Rb จัดเป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มของธาตุเสถียร ในขณะที่ 87Rb เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มี ค่าครึ่งชีวิต (half life) อยู่ที่ 48,800 ล้านปี โดยจากหลักการที่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป ไอโซโทปของธาตุ 87Rb จะสลายตัวอย่างต่อเนื่องให้ อนุภาคเบตา และ ธาตุสตรอนเทียม (Strontium, 87Sr) ซึ่งเป็นธาตุเสถียร นักวิทยาศาสตร์จึงใช้อัตราส่วนของน้ำหนักมวลระหว่างธาตุทั้ง 2 ในการวัดอายุแร่และหิน เรียกการหาอายุแบบนี้ว่า การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม (Sr-Rb dating)

การสลายตัวของธาตุ 87Rb ไปสู่ธาตุ 87Sr (ที่มา : www.geo.arizona.edu)

วิธีการตรวจวัด

วิธีการตรวจวัดจะใช้ตัวอย่างหิน เช่น หินแกรนิตเป็นก้อน บดให้ละเอียด แล้วนำตัวอย่างผงหินนั้นไปทำให้เป็นสารละลาย และผ่านขบวนการทางเคมีซึ่งเรียกว่า cation exchange chromatography เพื่อแยกเอาธาตุ 87Rb 87Sr 62Sm และ 60Nd ออกมาจากธาตุตัวอื่น ๆ หลังจากนั้นจึงนำเอาธาตุที่แยกได้ไปตรวจวัดสัดส่วนโดยมวลหรือโดยน้ำหนักของแต่ละธาตุ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า mass spectrometer ซึ่งจะต้องใช้ตัวอย่างจากจุดต่าง ๆ กันของหินจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน โดยเลือกตัวอย่างที่มีค่า 87Rb-87Sr หรือ 62Sm-60Nd ต่างกันเพื่อให้ค่าเหล่านี้กระจายและครอบคลุมปริมาณของธาตุไอโซโทป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำค่าไปสร้างกราฟที่เรียกว่า กราฟอายุเท่า หรือ กราฟไอโซครอน (isochron) เพื่อประเมินค่าความชันของกราฟออกมา แล้วจึงนำค่าความชันที่ได้ไปคำนวณหาอายุหินต่อไป

หน้าตาของเครื่อง mass spectrometry ที่ใช้สำหรับตรวจวัดปริมาณ Ar-40 เพื่อนำไปใช้ในการหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม (ที่มา : https://www.bio21.unimelb.edu.au)

จากสมการความสัมพันธ์ของการสลายตัวของธาตุ 87Sr ไปเป็นธาตุ 87Rb ดังแสดงในสมการด้านล่าง ซึ่งดูแว๊บแรกก็เหมือนกับว่าจะเป็นสมการที่ยุ่งเหยิงน่ากลัวและไม่น่าเข้าใกล้หรือทำความเข้าใจ แต่ถ้าลองพิจารณาดูดีๆ จะพบว่ามันสมการด้านล่าง สามารถเทียบเคียงได้กับ สมการเส้นตรง (linear regression) ทั่วไป โดยถ้าให้พจน์ 87Sr/86SR มีค่าเท่ากับ Y และพจน์ 87Rb/86Sr มีค่าเท่ากับ X นั่นก็คือสมการเส้นตรง Y = MX + C โดยที่ค่า C หรือจุดตัดแกน Y มีค่าเท่ากับ 87Sr/86SR ส่วนค่า M คือ ความชันของกราฟเส้นตรงหรือมีค่าเท่ากับ e^(Lambda.t)-1 = ความชันที่วัดได้จากกราฟ ส่วน apha คือค่าครึ่งชีวิต ส่วน e คือค่าคงที่ ดังนั้นเราจะสามารถคำนวณหาอายุตัวอย่างด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม ได้ตามที่อธิบายดังกล่าว

(ก) กราฟอายุเท่า (isochron) สำหรับการประเมินค่าความชันของกราฟเพื่อใช้คำนวณหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม (ข) ตัวอย่างผลการสร้างกราฟอายุเท่าของตัวอย่างหินอุกาบาต (ที่มา : http://www.tulane.edu)

จุดเด่น

การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม โดยส่วนใหญ่นิยมใช้กับตัวอย่างที่มีธาตุ Rb เป็นหลัก ซึ่งค่อนข้างจะหายาก อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วธาตุ Rb จะเป็นธาตุที่มักจะพบร่วมกับธาตุ K ดังนั้นแร่ที่มีองค์ประกอบ K ส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยธาตุ Rb อยู่ในปริมาณเล็กน้อย เช่น แร่ตระกูลไมกาและตระกูลแร่เฟลด์สปาร์ ซึ่งแร่เหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในหินแกรนิต (หันอัคนี) และหินไนส์ (หินแปร) และเนื่องจากค่าครึ่งชีวิตของ 87Rb อยู่ที่ 48,800 ล้านปี จึงทำให้การหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม จึงนิยมใช้กับการหาอายุวัตถุหรือหินที่มีอายุมากกว่า 100 ล้านปี ขึ้นไป

ส่วนในกรณีของเรื่อง อุณหภูมิปิดก้น (blocking temperature) สำหรับการหาอายุด้วยวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม ในแต่ละแร่โดยปกติจะสูงกว่า อุณหภูมิปิดก้น ของการหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน (K-Ar dating) ดังนั้นอายุที่ได้จากวิธีรูบิเดียม-สตรอนเทียม โดยปกติจะให้อายุแก่กว่าและถูกต้องมากกว่าวิธีการการหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน นอกจากนั้นกระบวนการวัดก็ไม่ยุ่งยากและให้ประสิทธิภาพดีพอสมควร ดังนั้นการหาอายุด้วยวิธีนี้จึงเป็นหนึ่งในการหาอายุหินที่มีอายุแก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024